แกลบหนู ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น

แกลบหนู

ชื่ออื่นๆ : กระดูกเขียด (นครพนม) กระดูกอึ่ง (ราชบุรี บุรีรัมย์) กระดูกอึ่งใหญ่ (นครราชสีมา) แปรงหูหนู แกลบหูหนู (ปราจีนบุรี) อึ่งใหญ่ (กลาง อีสาน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : แกลบหนู หรือ กระดูกอึ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrolobium lanceolatum (Dunn) Schindl.

ชื่อวงศ์ : Papilionoideae

ลักษณะของแกลบหนู

เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 – 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 – 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

แกลบหนู
แกลบหนู ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก

การขยายพันธุ์ของแกลบหนู

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่แกลบหนูต้องการ

ประโยชน์ของแกลบหนู

ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก เป็นอาหารสัตว์

สรรพคุณทางยาของแกลบหนู

รากดูกอึ่ง ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไตพิการ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ ผสมกับรากโมกมัน รากกาสามปีกใหญ่ รากเกล็ดปลาหมอและรากหางหมาจอก ต้มน้ำดื่ม แก้คุณไสย อาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาร้องไห้

คุณค่าทางโภชนาการของแกลบหนู

การแปรรูปของแกลบหนู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11748&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment