แข้งกวางดง เป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ทำรั้ว ใช้สร้างบ้าน

แข้งกวางดง

ชื่ออื่นๆ : กว้างดง ซั่ง จ่อล่อ น้าน (จังหวัดเชียงใหม่), ประดงแดง (จังหวัดสุโขทัย), ฮุนเต้า (เลย), แข้งกวาง (คนเมือง), ไม้กว้าว (คนเมือง, ไทใหญ่), ไม้กว๊าง (ลั้วะ), เส่ควอบอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wendlandia paniculata (Roxb.) DC

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของแข้งกวางดง

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 ม. ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือ 3 ใบ รูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 3.5-9 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 0.8-1.2 ซม. มีหูใบรูปสามเหลี่ยม ดอก สีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อรวมยาว 3.5-8 ซม. ดอกขนาด 2-2.5 มม. เป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 กลีบ ม้วนออกด้านนอก ขนาดกว้าง 0.8 มม. ยาว 1 มม. เกสรผู้ 5 อัน ผล รูปทรงกลม ขนาด 1-1.2 มม. ผิวเกลี้ยงเมื่อแห้งแตกเป็นสองซีก

แข้งกวางดง
แข้งกวางดง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของแข้งกวางดง

การตอนกิ่ง, ทาบกิ่ง และปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่แข้งกวางดงต้องการ

ประโยชน์ของแข้งกวางดง

  • ไม้แข้งกวางดงเป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ทำรั้ว ใช้สร้างบ้าน ทำส่วนประกอบต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน หรือใช้ทำที่พักชั่วคราว แล้วก็ทำฟืน
  • ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส่วนชาวไทใหญ่จะใช้ดอกลวกกินกับน้ำพริก

สรรพคุณทางยาของแข้งกวางดง

ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ ลำต้นลำแข้งกวางดง เอามาผสมกับสมุนไพรพวกประดงรวม 9 จำพวก ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคประดง

คุณค่าทางโภชนาการของแข้งกวางดง

การแปรรูปของแข้งกวางดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10377&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment