แคทราย ดอกและยอดอ่อนรับประทานได้ ปลูกประดับสวน

แคทราย

ชื่ออื่นๆ : แคก้อง แคดง แดฝอย แคหันแห้

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : แคทราย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stereospermum fimbriatum

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะของแคทราย

-ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลางผลัดใบสูง 8-20 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทาอ่อน เรือนยอดทรงรูปไข่ค่อนข้างทึบมีขนสีเทาคลุมส่วนอ่อนทั่วไป
-ใบประกอบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ทั้งช่อยาว18-40 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยใบย่อย รูปมนกว้าง จำนวน 5-7 ใบ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบยอดจะเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่นกว้าง 5-13 ซม. ยาว 11-20 ซม. เนื้อใบหนามีขนสากๆทั้งสองด้าน
– ดอกโตสีขาวอมเขียวอ่อนออกรวมกันเป็นช่อที่เหนือรอยแผลเป็นใบและกิ่ง ยาว 5-14 ซม. โคนดอกเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ส่วนบนแ ยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ยาว 4-6 ซม. ปลายดอกโค้งกลับเป็นกลีบย่นและเว้าแหว่ง ผิวด้านในจะมีเส้นริวสีม่วงเกสรผู้มี 2 คู่ สั้นหนึ่งคู่และยาวหนึ่งคู่ ติดอยู่ที่โคนกลีบดอกด้านใน รังไข่รูปรี
-ฝักเป็นแท่งลักษณะเป็นสันสี่เหลี่ยมตามยาวบิดเบี้ยวเล็กหน่อย ยาว 35-50 ซม.

ดอกแคทราย
ดอกโตสีขาว ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก

การขยายพันธุ์ของแคทราย

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด และการปักชำราก

ธาตุอาหารหลักที่แคทรายต้องการ

ประโยชน์ของแคทราย

-ดอก และยอดอ่อนใช้รับประทานได้
-เนื้อไม้ สีน้ำตาล เนื้อหยาบใช้ทำเสา กระดานพื้นฝา คานเกวียน

สรรพคุณทางยาของแคทราย

คุณค่าทางโภชนาการของแคทราย

การแปรรูปของแคทราย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9551&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment