แคป่า
ชื่ออื่นๆ : แคขาว, แคเก็ตวา, แคเก็ตถวา, แคเค็ตถวา (เชียงใหม่) แคภูฮ่อ (ลำปาง) แคป่า (เลย, ลำปาง) แคทราย (นครราชสีมา) แคยาว, แคอาว (ปราจีนบุรี) แคยอดดำ (สุราษฎร์ธานี) แคตุ้ย, แคแน, แคฝา, แคฝอย, แคหยุยฮ่อ, แคแหนแห้ (ภาคเหนือ) แคนา (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : พบที่พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ชายทุ่งหรือทุ่งนา ความสูงถึงประมาณ 300 เมตร
ชื่อสามัญ : แคป่า แคนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone Spathacea (DC.) Seem.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของแคป่า
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงของลำต้นได้ถึง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง มักแตกกิ่งต่ำ เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมสีเทาและอาจมีจุดดำประ ผิวต้นเรียบหรือล่อนเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ๆ
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียวปลายคี่ ออกตรงข้ามกันประมาณ 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟันตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นอยู่ประปรายบนก้านใบ ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกเป็นรูปแตรสีขาว โดยจะออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะมีดอกอยู่ประมาณ 2-10 ดอก กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวเล็กและโค้งยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร หุ้มดอกตูมมิด เชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งปลายแหลม เมื่อดอกบานจะมีรอยแตกทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้มกลีบดอกติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายขยายออกเป็นรูประฆัง และจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยาวประมาณ 16-18 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบดอกจะยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร ส่วนโคนจะแคบเป็นหลอด สีเขียวอ่อน ส่วนบนจะบานออกคล้ายกรวยเป็นสีขาวแกมสีขมพู แฉกกลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ที่ขอบกลีบจะย่นเป็นคลื่น ๆ ดอกเป็นสีขาว ดอกตูมเป็นสีเขียวอ่อน ๆ โคนกลีบมีสีน้ำตาลปน ดอกมีเกสรตัวผู้ 4 ก้าน ติดอยู่ด้านในของท่อกลีบดอก ปลายแยก มีขนาดสั้น 2 ก้านและยาว 2 ก้าน และยังมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมันอีก 1 ก้าน มีรูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กคล้ายเส้นด้าย มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เป็นสีเทาดำ และจานฐานดอกเป็นรูปเบาะ เป็นพูตื้น ๆ และมีเกสรตัวเมียอยู่ 1 ก้าน โดยดอกแคนาจะค่อย ๆ บานทีละดอก ดอกมีกลิ่นหอม บานในตอนกลางคืน และจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผล ผลเป็นฝัก ออกฝักช่อละประมาณ 3-4 ฝัก ลักษณะของฝักแบนเป็นรูปขอบขนาน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว มีความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนเมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ 2.2-2.8 เซนติเมตรรวมปีกบางใส
การขยายพันธุ์ของแคป่า
การเพาะเมล็ด, การปักชำราก
ธาตุอาหารหลักที่แคป่าต้องการ
ประโยชน์ของแคป่า
- แคนา เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกมากตามปั๊มน้ำมันหรือสถานที่ราชการ เนื่องจากให้ดอกสีขาวสวยงาม
- แคนา เป็นไม้มงคล เนื่องจากเชื่อว่า สีขาวบริสุทธิ์ของดอกจะนำพาสิ่งที่เป็นมงคล และสิ่งดีงามมาให้แก่สถานที่หรือคนในครอบครัว รวมถึงช่วยปกป้องภัยอันตรายทั้งหลายและช่วยให้ทำมาค้าขายร่ำรวย
- ต้นแคนามีกิ่งจำนวนมาก และมีใบดก จึงนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกับการปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ และไม้มงคล
- ดอกแคนานิยมเก็บมารับประทานสดกินกับอาหารจำพวกลาบหรือลวกจิ้มน้ำพริก ซึ่งดอกสดจะมีรสกรอบ และขมเล็กน้อย แต่หากนำมาลวกน้ำที่ลวกนานในระยะหนึ่งจะมีรสขมมาก และขมมากกว่าดอกสด แต่จะให้รสนุ่มอร่อยกว่า แต่ทั้งนี้ หากลวกน้ำหลายน้ำหรือลวกนานขึ้น รสขมจะน้อยลงเรื่อยๆจนถึงระดับที่ไม่ขมมาก แต่การลวกน้ำร้อนนานๆจะทำให้ดอกเปื่อยยุ่ย รับประทานไม่อร่อย
- เนื้อไม้แคนาแปรรูปเป็นไม้ตกแต่ง เช่น ไม้ฝ้า ไม้ปิดขอบ เป็นต้น แต่ไม่นิยมแปรรูปเป็นไม้โครงสร้างหลัก เช่น เสา คาน เพราะเนื้อไม้มีลักษณะไม่แข็งแรง เปราะ และหักง่าย
- ดอกแคนา นอกจากเป็นที่ชื่นชอบของมนุษย์ที่นำมาเป็นผักแล้ว ดอกจะเป็นอาหารที่ชื่นชอบของโค กระบือ และหมูป่าด้วย
- ดอก ยอดอ่อนและฝักอ่อน ใช้ปรุงอาหาร สามารถรับประทานเป็นผักได้
สรรพคุณทางยาของแคป่า
ดอก (รสขม)
- ลดอาการท้องเสีย
- ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง
- ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยลดอาการเจ็บคอ และช่วยขับเสมหะ
- บดทาประคบแผล ช่วยห้ามเลือด ต้านจุลินทรีย์ และช่วยลดอาการอักเสบของแผล
- ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ
ฟัก และเมล็ด
- ใช้เป็นยาถ่าย
- แก้อาการท้องเสีย
- แก้ริดสีดวง
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ
ราก เปลือก และแก่น
- ช่วยขับลม
- ช่วยขับเสมหะ
- แก้อาการท้องเสีย
- ลดอาการท้องอืด
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ใช้บดทาพอกแผล ลดอาการอักเสบทำให้แผลหายเร็ว
ใบ ใช้แก้ไข้ และเป็นยาระบาย
คุณค่าทางโภชนาการของแคป่า
เนื่องจากการศึกษาหาสารสำคัญที่พบในดอกแคนายังไม่พบการศึกษา แต่จากการรวบรวมเอกสารจากพืชที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น แคหัวหมู และแคหางด่าง พบสารสำคัญ ได้แก่
- Verbascoside
- Leucosceptoside
- Leucoside A และ B
- Khaephuoside A และ B
- Phlomisethanoside
การแปรรูปของแคป่า
เนื้อไม้ และกิ่งแคนาค่อนข้างเปราะ และหักง่าย ไม่นิยมแปรรูปเป็นไม้โครงสร้าง แต่จะแปรรูปเป็นไม้ตกแต่ง หรือ ทำเฟอร์นิเจอร์ได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9262&SystemType=BEDO
https:// www.gotoknow.org
https:// www.dnp.go.th
http:// bannongphi.ac.th
มีใครมีเมนูเด็ดๆ จาก แคป่า ได้