แตงสา
ชื่ออื่นๆ : สุคนธรส (ภาคกลาง) แตงกะลา, มะแตงสา, แตงสา (ภาคกลาง และตะวันตก) มะละกอย่าน (ภาคใต้) มะถั่วรส, มักซูรด (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Giant granadilla
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passifloraquadrangularis L
ชื่อวงศ์ : Passifloraceae
ลักษณะของแตงสา
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย
ใบ ใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก
ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อน ประกอบด้วยจุดแดงๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้นๆ สองชั้น แต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงใช้เมล็ด จากผลที่สุกจัดนำมาเพาะต้นกล้ากลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก
ผล เป็นรูปไข่ หรือไข่ยาว ผลดิบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายลูกมะละกอลูกเล็กๆ ภายในผลดิบจะมีเมล็ดสีดำ ที่ถูกหุ้มด้วยรกสีขาว มีรสเปรี้ยว เช่นเดียวกับเสาวรส ภายในผลจะมีรสชาติเหมือนกะทกรก แต่มีรสหวาน หอมกว่า
การขยายพันธุ์ของแตงสา
การใช้เมล็ด จากผลที่สุกจัดนำมาเพาะต้นกล้า
ธาตุอาหารหลักที่แตงสาต้องการ
ประโยชน์ของแตงสา
- เนื้อภายนอกนำไปปรุงอาหารหลากหลายเมนู เช่น ผัดใส่ไข่ ต้มจืด แกงเลียง หรือนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก
- นิยมนำเมล็ดไปคลุกกับเกลือก่อนกิน เพื่อเพิ่มรสชาติ ผลสุกมีสีเหลือง ภายในผลจะมีรสชาติเหมือนกะทกรก แต่มีรสหวาน หอมกว่า
สรรพคุณทางยาของแตงสา
สรรพคุณทางยา ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด หากนำใบมาตากแห้งเป็นชาชงดื่ม แก้ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และลดไขมันในเส้นเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของแตงสา
การแปรรูปของแตงสา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9966&SystemType=BEDO
http:// www.forest.go.th
https://www.flickr.com