แพรเซี่ยงไฮ้ ลำต้นและใบอวบน้ำ ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน

แพรเซี่ยงไฮ้

ชื่ออื่นๆ : แพรเซี่ยงไฮ้ ดอกผักเบี้ย (กทม.) แดงสวรรค์ (กทม.) และ ผักเบี้ยฝรั่ง (กทม.)

ต้นกำเนิด : ประเทศอาร์เจนตินา ตอนใต้ของบราซิล และอุรุกวัย

ชื่อสามัญ : portulaca, purslane, sun plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ Portulaca oleracea L.

ชื่อวงศ์ : Portulacaceae

ลักษณะของแพรเซี่ยงไฮ้

ลำต้น กลมสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก สีเขียวเข้มปนแดงเรื่อหรือน้ำตาล มีลักษณะอวบน้ำ ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน แตกกิ่งก้านแผ่ไปตามพื้นดินได้ในรัศมี 30-40 ซม.

ใบกลม ปลายใบแหลม อวบน้ำมีสีเขียว แผ่คลุม ดิน ใบยาวราว 1..5-2 เซนติเมตร  ดอก ออกตามยอดหรือปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ ช่อละ 3-6 ดอก มักจะทยอยบานครั้งละ 1-3

ดอก กลีบบางย่อยคล้ายแพรบางๆ ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางราว 2-3 ซม. มักบานเพียงวันเดียวแล้วเหี่ยวแห้งร่วงหล่นไป หรือกลายเป็นผลที่มีเมล็ดขนาดจิ๋วมากมายอยู่ภายใน

แพรเซี้ยงไฮ้
แพรเซี้ยงไฮ้ ใบเรียวแหลม ดอกซ้อนกันหลายชั้น

การขยายพันธุ์ของแพรเซี่ยงไฮ้

ใช้เมล็ด, ปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่แพรเซี่ยงไฮ้ต้องการ

ประโยชน์ของแพรเซี่ยงไฮ้

นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ดอกประดับหรือปลูกในกระถาง และเป็นพืชคลุมดิน ให้ดอกสีสันสดใส สวยงาม และดอกมีหลายสี

สรรพคุณทางยาของแพรเซี่ยงไฮ้

คุณค่าทางโภชนาการของแพรเซี่ยงไฮ้

การแปรรูปของแพรเซี่ยงไฮ้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10582&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment