แย้มปีนัง ไม้พุ่มรอเลื้อย ดอกสีขาวอมม่วงชมพู มีกลิ่นหอม

แย้มปีนัง

ชื่ออื่นๆ : บานทน, หอมปีนัง (กรุงเทพฯ)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนตั้งแต่เอเชีย – แอฟริกา

ชื่อสามัญ : Climbing oleander, Cream fruit

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strophanthus gratus Franch หรือ Strophanthus gratus (Wall. ex Hook.) Baill.

ชื่อวงศ์ : Apocynaceae

ลักษณะของแย้มปีนัง

ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อยโดยธรรมชาติ ไม่มีส่วนยึดเกาะกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 9-13 เซนติเมตร
ปลายใบเรียวแหลมและมีติ่ง โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน

ดอก ดอกสีขาวอมม่วงชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ช่อละ 5-20 ดอก รูปแตร โคนกลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขอบบิดโค้ง มีรยางค์เป็นเส้นสีม่วงเข้มยื่นออกมารอบปากหลอด ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 เซนติเมตร

ผล ผลแห้งเป็นฝักคู่ติดกัน รูปเรียวยาว ยาว 40-45 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกแนวเดียว เมล็ดสีน้ำตาล มีขนกระจุกสีขาว

แย้มปีนัง
แย้มปีนัง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกสีขาวอมม่วงชมพู มีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของแย้มปีนัง

ใช้กิ่ง/ลำต้น/นำกิ่งมาปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่แย้มปีนังต้องการ

ประโยชน์ของแย้มปีนัง

ปลูกประดับบ้านเพราะมีกลิ่นหอมตลอดวัน

สรรพคุณทางยาของแย้มปีนัง

เมล็ด ใช้สกัดให้สารชื่อ G-strophanthin หรือ ouabain เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันใช้รักษาโรคหัวใจ เป็นยาที่มีอันตราย ตามตำรายาพื้นบ้านใช้รักษาโรคหนองใน และมีความเป็นพิษสูง ไม่สมควรกินในลักษณะสมุนไพร
อาการพิษ คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรงและเร็ว ต้องรีบทำให้อาเจียน และนำส่งโรงพยาบาลทันที
ส่วนที่เป็นพิษคือเมล็ดและยางจากเปลือก หลังจากเคี้ยวหรือกลืนส่วนมีพิษของบานทนเข้าไป จะอาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด มึนงง ชีพจรเต้นช้าหรือไม่สม่ำเสมอ ความดันโลหิตลด และตาย ชาวพื้นเมืองในแอฟริกาใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วยิงสัตว์หรือคน

คุณค่าทางโภชนาการของแย้มปีนัง

การแปรรูปของแย้มปีนัง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10599&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment