แววมยุรา ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับหรือปลูกคลุมดิน

แววมยุรา

ชื่ออื่นๆ : เกล็ดหอย, แววมยุเรศ, สามสี, หญ้าลิ้นเงือก, หญ้าลำโพง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Wishbone flower, Bluewings, Torenia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Torenia fournieriLinden. ex E. Fourn.

ชื่อวงศ์ : Scrophulariaceae

ลักษณะของแววมยุรา

ต้น : ไม้ดอกล้มลุก ลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ถึงรูปรีแคบ กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง สีเขียว เส้นใบเป็นร่อง

ดอก : สีแดง ชมพู ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน โคนกลีบสีขาวกลีบล่างอาจมีแต้มสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ดอกจะบานทุกฤดูกาล

ผล : ผลแห้งแตก รูปรีหรือทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก

แววมยุรา
แววมยุรา ดอกสีม่วง กลีบขาว

การขยายพันธุ์ของแววมยุรา

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แววมยุราต้องการ

เป็นไม้ดอกประดับที่ชอบแสงแดดรำไร ทนร้อนได้ดี ปลูกได้ทุกฤดูกาล

ประโยชน์ของแววมยุรา

  • ปลูกคลุมดินในสวน ดอกช่วยสร้างสีสัน เหมาะกับสวนในบ้าน ริมน้ำตก ลำธาร
  • ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับตามตามอาคารสถานที่ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคารให้ดูสวยงาม สดใส และยังช่วยดูดซับสารพิษในอากาศได้

สรรพคุณทางยาของแววมยุรา

รากสดทุบพอแหลก หรือทุบผสมเกลือ อมแก้ปวดฟัน

คุณค่าทางโภชนาการของแววมยุรา

การแปรรูปของแววมยุรา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9891&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment