แสมขาวป่าชายเลน ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา

แสมขาวป่าชายเลน

ชื่ออื่นๆ : พีพีเล (ตรัง), แหม แหมเล (ใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : แสมฃาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia alba Bl.

ชื่อวงศ์ : AVICENnIACEAE

ลักษณะของแสมขาวป่าชายเลน

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-20 ซม.ไม่มีพูพอน ลำต้นแตกกิ่ง ระดับต่ำ เรือนยอดค่อนข้างกลม แผ่กว้าง หนาทึบ กิ่งห้อยลง เปลือกเรียบสีเทา ถึงดำ มักจะมีสีสนิม เกิดจากพวกเชื้อราติดตามกิ่ง และผิวของลำต้น มีรากหายใจ รูปคล้ายดินสอยาว 15-30 ซม. เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปใบหอก แกม รีหรือรูปขอบขนาน ขนาด 2-5 x 5-16 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเทาอ่อน หรือ สีเทาเงินหรือสีออกขาว แผ่นใบเมื่อแห้ง จะเป็นสีดำ ก้านใบยาว 1 -2 ซมดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่งเป็นช่อเชิงลดยาว3-8 ซม.มีขนยาวนุ่มสีน้ำตาลเหลืองหม่นปกคลุม ดอกมีขนาดเล็ก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-0.6 ซม. กลีบเลียง 5 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 0.2-0.3 ซม. โคนกลีบติดกัน สีเหลืองส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน ผลรูปคล้ายพริก หรือรูปไข่เบี้ยว แบน ขนาด1.5-2 x 2.5-4 ซม. ปลายผลมีจะงอย เปลือกอ่อนนุ่ม สีเหลืองอมเขียว มีขนยาวนุ่มสีเขียวอ่อน ผลจะเปลือกจะแตก ด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1เมล็ด การเจริญเติบโต เป็นไม้เบิกนำ ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินเลนอ่อน ที่ระบายน้ำดี ส่วนมากจะอยู่ในป่าเลนด้านนอกสุด เป็นไม้ที่ช่วยให้มีการตกตะกอน ทำให้เกิดแผ่นดินงอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-20 ซม.ไม่มีพูพอน ลำต้นแตกกิ่ง ระดับต่ำ เรือนยอดค่อนข้างกลม แผ่กว้าง หนาทึบ กิ่งห้อยลง เปลือกเรียบสีเทา ถึงดำ มักจะมีสีสนิม เกิดจากพวกเชื้อราติดตามกิ่ง และผิวของลำต้น มีรากหายใจ รูปคล้ายดินสอยาว 15-30 ซม. เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปใบหอก แกม รีหรือรูปขอบขนาน ขนาด 2-5 x 5-16 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเทาอ่อน หรือ สีเทาเงินหรือสีออกขาว แผ่นใบเมื่อแห้ง จะเป็นสีดำ ก้านใบยาว 1 -2 ซมดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่งเป็นช่อเชิงลดยาว3-8 ซม.มีขนยาวนุ่มสีน้ำตาลเหลืองหม่นปกคลุม ดอกมีขนาดเล็ก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-0.6 ซม. กลีบเลียง 5 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 0.2-0.3 ซม. โคนกลีบติดกัน สีเหลืองส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน ผลรูปคล้ายพริก หรือรูปไข่เบี้ยว แบน ขนาด1.5-2 x 2.5-4 ซม. ปลายผลมีจะงอย เปลือกอ่อนนุ่ม สีเหลืองอมเขียว มีขนยาวนุ่มสีเขียวอ่อน ผลจะเปลือกจะแตก ด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1เมล็ด การเจริญเติบโต เป็นไม้เบิกนำ ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดินเลนอ่อน ที่ระบายน้ำดี ส่วนมากจะอยู่ในป่าเลนด้านนอกสุด เป็นไม้ที่ช่วยให้มีการตกตะกอน ทำให้เกิดแผ่นดินงอก

ต้นแสมขาว
ต้นแสมขาว ลำต้นแตกกิ่ง ระดับต่ำ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม

การขยายพันธุ์ของแสมขาวป่าชายเลน

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่แสมขาวป่าชายเลนต้องการ

ประโยชน์ของแสมขาวป่าชายเลน

ลำต้น เป็นเชื้อเพลิง ทำเป็นแผ่นหนา ปูเป็นไม้พื้น ที่พักชั่วคราว ลำต้นตรงทำสากตำข้าว เสาโป๊ะ ด้ามคิวบิลเลียด เนื้อไม้อ่อนหยาบเลื่อยไสตบแต่งง่าย

สรรพคุณทางยาของแสมขาวป่าชายเลน

ก้านและใบเผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิดโดยเฉพาะปลาทะเลมีพิษ
เปลือก เป็นยาบำรุงกำหนัด แก้ปวดฟัน ตำพอกฝีแตก กระพี้ เป็นยาแก้พิษงู
แก่น มีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำ แก้ลมในกระดูก แก้กระษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน (ขี้เหล็กป่า) เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี หรือ ใช้ดื่มแก้ท้องร่วง

ผลแสมขาว
ผลแสมขาว รูปคล้ายพริก หรือรูปไข่เบี้ยว แบน สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของแสมขาวป่าชายเลน

การแปรรูปของแสมขาวป่าชายเลน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9469&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment