แหนแดง ใบเล็กเรียงแบบสลับอยู่ตามกิ่งก้านมีลักษณะคล้ายเกล็ดยาว

แหนแดง

ชื่ออื่นๆ : แหนแดง, แหนเป็ดใหญ่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Azolla

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azolla spp.

ชื่อวงศ์ : Azollaceae Wettst.

ลักษณะของแหนแดง

เป็นพืชลอยบนผิวน้ำ ลักษณะโดยทั่วไปของแหนแดง ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น (rhizome) ราก (root) และใบ (lobe) มีกิ่งแยกจากลำต้น ใบเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือใบบน (dorsal lobe) และใบล่าง (ventral lobe) มีขนาดใกล้เคียงกัน รากของแหนแดงจะห้อยลงไปในน้ำตามแนวดิ่งและอาจฝังลงไปในดินโคลนได้ ใบบนมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงใช้ประโยชน์ได้ ทำให้แหนแดงเจริญเติบโตได้เร็วและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง และการที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงทำให้แหนแดงสลายตัวได้ง่ายและปลดปล่อยไนโตรเจนและธาตุอาหารพืชอื่นๆ ออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อให้พืชอื่นหรือจุลินทรีย์นำไปใช้ต่อไป จากการศึกษาพบว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนในต้นแหนแดงจะถูกปลดปล่อยออกมาภายใน 8 สัปดาห์หลังจากการไถกลบ

ใบเล็กเรียงแบบสลับอยู่ตามกิ่งก้านมีลักษณะคล้ายเกล็ดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรใบอ่อนสีเขียวใบแก่ เปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม

แหนแดง
แหนแดง ใบคล้ายเกล็ดยาว  ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม

การขยายพันธุ์ของแหนแดง

ใช้ส่วนอื่นๆ/ การแตกหักของใบแยกเป็นต้นใหม่ และแบบใช้สปอร์ในส่วนช่องว่างของใบและรากจะมีสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวพวก Anabaena ซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มาอาศัยรวมอยู่ด้วย

ธาตุอาหารหลักที่แหนแดงต้องการ

ประโยชน์ของแหนแดง

ใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น สุกร เป็ด และห่าน เนื่องจากแหนแดงมีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบอยู่มาก และมีกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ในปริมาณที่สูงพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของปลา จึงเหมาะที่จะเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีแหนแดงอยู่ด้วย

สรรพคุณทางยาของแหนแดง

คุณค่าทางโภชนาการของแหนแดง

การแปรรูปของแหนแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10914&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment