โกงกางหูช้าง
ชื่ออื่นๆ : กดล (จันทบุรี); โกงกางหูช้าง (ตราด); ซ่าดา (ภาคใต้); น่าเซีย (กระบี่); เป่งเม่น (สุราษฎร์ธานี); โพล่ (ชุมพร)
ต้นกำเนิด : ขึ้นตามป่าชายหาดของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Beach Gardenia, Sea Randia, Tafano, Zebra wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guettarda speciosa L.
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae
ลักษณะของโกงกางหูช้าง
ต้น: ไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 10 ม. แยกเพศต่างต้น หรือแกมสมบูรณ์เพศ แตกกิ่งต่ำ หูใบรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 1 ซม. ร่วงเร็ว
ใบ: ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับกว้างเกือบกลม ยาว 10–25 ซม. โคนกลมหรือเว้าตื้น แผ่นใบหนา มีขนกระจายด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5–4 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงเป็นวงแถวคู่ ก้านยาว 5–10 ซม. กลีบเลี้ยงขนาดเล็กไม่ชัดเจน
ดอก: ดอกรูปดอกเข็ม สีขาว หลอดกลีบยาว 1.5–3 ซม. มี 6–9 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปรี ยาว 4–8 มม. ด้านนอกมีขนกำมะหยี่ ปากหลอดมีขนยาว เกสรเพศผู้ 6–9 อัน ไร้ก้าน ติดใกล้ปากหลอด รังไข่มี 4–9 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยาวเท่า ๆ หลอดกลีบดอก ยอดเกสรเป็นตุ่ม
ผล: ผลผนังชั้นในแข็งเป็นใย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 ซม. ก้านยาว 3.5–10 ซม. มี 4–9 ไพรีน
การขยายพันธุ์ของโกงกางหูช้าง
วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่โกงกางหูช้างต้องการ
ประโยชน์ของโกงกางหูช้าง
เป็นพืชทนเค็ม ใช้เป็นไม้ประดับได้
สรรพคุณทางยาของโกงกางหูช้าง
เปลือกรสฝาด เป็นยาสมาน ลดกรด แก้ไข้ แก้โรคลมชัก
คุณค่าทางโภชนาการของโกงกางหูช้าง
การแปรรูปของโกงกางหูช้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9714&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/