โกฐหัวบัว
ชื่ออื่นๆ : ชวงเกียง (จีนแต้จิ๋ว) ชวนโซยงวิง, ชวงชวอง (จีนกลาง)
ต้นกำเนิด : มนฑลเสฉวนของประเทศจีน
ชื่อสามัญ : Szechuan lovage, Selinum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ligusticum striatum DC
ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE
ลักษณะของโกฐหัวบัว
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปีลำต้นมีลักษณะตั้งตรง โคนต้นเป็นข้อ ๆ และมีรากฝอยงอกอยู่ที่ข้อ บริเวณช่วงบนจะแตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอม
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงเวียน แฉกสุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบใบหยักลึกสุดแบบขนนก ส่วนใบที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม
ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกช่อแบบซี่ค้ำร่มหลายชั้น มีหลายดอกย่อย ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว ดอกหนึ่งมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ มี 2 ลูก เป็นห้าเหลี่ยมและในเหลี่ยมจะมีท่อน้ำมัน 1 ท่อ
การขยายพันธุ์ของโกฐหัวบัว
การใช้ข้อของลำต้น ชอบอากาศร้อนชื้น ชอบดินหนาและลึก ระบายน้ำดี
ธาตุอาหารหลักที่โกฐหัวบัวต้องการ
ประโยชน์ของโกฐหัวบัว
โกฐหัวบัวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐหัวบัวจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
สรรพคุณทางยาของโกฐหัวบัว
- เป็นยาฟอกเลือด แก้เลือดน้อย
- รักษาอาการปวดศีรษะหรือปวดศีรษะข้างเดียว
- เป็นยาแก้เสมหะ
- ช่วยแก้อาการปวดหัวใจ
- ใช้เป็นยาขับลม
- เป็นยาแก้ปวด แก้อาการปวดจากเลือดคั่ง แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก
- ทำให้หายปวดเมื่อยตามร่างกาย
- เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด
- แก้โรคโลหิตจาง บำรุงโลหิต
คุณค่าทางโภชนาการของโกฐหัวบัว
การแปรรูปของโกฐหัวบัว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11809&SystemType=BEDO