โคกกระสุน
ชื่ออื่นๆ : หนามกระสุน (ลำปาง) หนามดิน (ตาก) กาบินหนี (บางภาคเรียก) โคกกะสุน (ไทย) ชื่อจี๋ลี่ (จีนกลาง) ไป๋จี๋ลี่ (จีนกลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : โคกกระสุน Caltrops , Devil’s thorn , Ground bur-nut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tribulus terrestris L.
ชื่อวงศ์ : Zygophyllaceae
ลักษณะของโคกกระสุน
ต้น มักทอดเลื้อยไปตามพื้นดินแตกกิ่งก้านออกโดยรอบ ชูส่วนปลายยอดและดอกขึ้นมา ตามลำต้นมีขนขึ้นปกคลุม
ใบ เป็นใบประกอบออกจากลำต้นตามข้อแบบสลับ ประกอบด้วยใบย่อย 6-7 คู่ ใบข้างหนึ่งโตกว่าอีกข้างหนึ่ง ด้านหลังใบมีขนยาวปกคลุม
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกตามข้อของลำต้น ก้านดอกยาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีสีเหลือง
ผล ผลกลม เปลือกผลแข็งรูปห้าเหลี่ยม แก่แล้วแตกเป็น 5 ซีก มีหนามแหลมและแข็งยาว 1 คู่ สั้น 1 คู่ ภายในผลแต่ละซีกมีเมล็ด 4-5 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของโคกกระสุน
ใช้เมล็ด
พบขึ้นในแปลงพืชไร่ ในสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคกลาง
ธาตุอาหารหลักที่โคกกระสุน ต้องการ
ประโยชน์ของโคกกระสุน
- ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเจริญพันธุ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง ช่วยให้รอบการตกไข่ของผู้หญิงเป็นปกติ ซึ่งนำไปสู่การช่วยทำให้มีบุตรได้ง่ายขึ้น ช่วยลดอาการก่อนและ
ระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง ช่วยให้อาการวัยทองในผู้หญิงลดลง ช่วยลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับให้ลดน้อยลง

สรรพคุณทางยาของโคกกระสุน หนามกระสุน
- ทั้งต้นมีรสเค็มขื่นเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู ยาแก้ไอ ขับเสมหะ หลอดลมอักเสบ ยารักษาอาการอักเสบในช่องปาก
- ผลแห้งใช้ต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น
- ทั้งต้น ใช้เป็นยาขับลมในใต้ผิวหนัง แก้คันตามตัว แก้ผดผื่นคัน และลมพิษ
- ผลใช้เป็นยาฝาดสมาน
- เมล็ดตากแห้งใช้ทำเป็นยาลูกกลอนกินบำรุงร่างกาย เชื่อว่าจะทำให้รู้สึกเป็นหนุ่มขึ้น มีกำลังวังชา หายเหนื่อยล้า และสำหรับผู้ที่อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง โดยใช้โคกกระสุน กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง และเครือเขาแกบมาต้มกิน
คุณค่าทางโภชนาการของโคกกระสุน หนามกระสุน
การแปรรูปของโคกกระสุน หนามกระสุน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12173&SystemType=BEDO
www.arit.kpru.ac.th, www.flickr.com