โผงเผง เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีขน และมีกลิ่นเหม็นเขียว

โผงเผง

ชื่ออื่นๆ : รางจืดต้น (ปราจีนบุรี), ดับพิษ (นครศรีธรรมราช), ลำมึนหลวง (คนเมือง), อิเฉ่อะโชเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), สะหน่ำสะอี้ (ปะหล่อง) ส่วนเชียงใหม่เรียก โผงเผง

ต้นกำเนิด : พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ริมป่า ตามป่าละเมาะ หรือในพื้นที่เสื่อมโทรม สภาพดินเหนียวปนดินลูกรัง

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna hirsuta (L.) Irwin & Barneby

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE (FABACEAE)

ลักษณะของโผงเผง

ต้น  เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 2.5-3 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีขน และมีกลิ่นเหม็นเขียว

ใบ  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-5 คู่ โดยคู่บนสุดจะมีใบขนาดใหญ่กว่า คู่ล่างๆ จะมีขนาดรองลงมา ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือเป็นรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 1.7-4.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.3-10.8 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนละเอียดยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่นทั้งสองด้าน ก้านใบยาวประมาณ 1.7-4.3 เซนติเมตร

ดอก  ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อยประมาณ 2-4 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด อับเรณูเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง ส่วนยอดเกสรเพศเมียเป็นสีเขียวอ่อน ก้านชูเกสรเพศเมียมีปุยขนยาวสีขาว

ผล  ลักษณะของผลเป็นฝักโค้งเล็กน้อย มีขนละเอียดปกคลุมอยู่หนาแน่น ขอบเป็นสันเหลี่ยม ภายในผลมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีม่วงดำ มีรูปร่างแบนและมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร

ต้นโผงเผง
ต้นโผงเผง ไม้พุ่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของโผงเผง

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โผงเผงต้องการ

ประโยชน์ของโผงเผง

  • ยอดอ่อนโผงเผงกินเป็นผัก
  • ใบและยอดอ่อนเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติสำหรับสัตว์แทะเล็ม เช่น โค กระบือ
  • ชาวกะเหรี่ยงนำเมล็ดแก่นำไปคั่วไฟอ่อน แล้วนำมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นน้ำชา มีกลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของโผงเผง

  • ใบ  ผสมกับรากขางครั่ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ทำเป็นยาลูกกลอนกินเป็นยาแก้ไข้
  • รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการนอนไม่หลับ ทำให้ง่วงนอน
  • เมล็ด นำมาคั่วแช่ในน้ำ หรือใช้รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปัสสาวะขัด หรือท้องผูก
  • ทั้งต้น นำมาต้มให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่ม
ดอกโผงเผง
ดอกโผงเผง ดอกสีเหลืองสด

คุณค่าทางโภชนาการของโผงเผง

การแปรรูปของโผงเผง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11481&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment