ต้นโพกริ่ง พืชหายาก สรรพคุณทางยาของโพกริ่ง

โพกริ่ง

ชื่ออื่นๆ : โพกริ่ง, โกงพะเหม่า (สุราษฎร์ธานี) โปง (กระบี่)

ต้นกำเนิด :  ภาคใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่มาดาร์กัสการ์ ศรีลังกา อินเดีย พม่า ภูมิภาคมาเลเซียจนถึงโพลีนีเซีย ขึ้นตามป่าชายหาดบนหาดทรายของเกาะและฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามัน

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hernandia nymphaeifolia (C.Presl) Kubitzki

ชื่อวงศ์ : HERNANDIACEAE

ลักษณะของโพกริ่ง

ต้น  ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาเป็นมัน

ต้นโพกริ่ง
ต้นโพกริ่ง เปลือกสีเทาเป็นมัน

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กว้างแกมรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบกลม ก้านใบยาว 6-20 เซนติเมตร ติดเลยโคนใบเข้ามาในแผ่นใบเล็กน้อย

ใบโพกริ่ง
ใบโพกริ่ง ใบรูปไข่กว้างแกมรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบกลม

ดอก  ดอกออกเป็นช่อ แตกแขนงสั้นๆ ตามซอกโคนใบใกล้ยอดหรือที่ยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก ตรงกลางเป็นดอกเพศเมียขนาบด้วยดอกเพศผู้ ดอกเพศเมียมีกลีบดอกสีขาว 4 กลีบ มีฐานรองรบรับไข่เป็นรูปถ้วยและมีขนาดโตขึ้นรองรับผล ออกดอกและผลเดือน กันยายน -พฤศจิกายน

ดอกโพกริ่ง
ดอกโพกริ่ง ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว 4 กลีบ

ผล  ผลกลม หรือ รี กว้างประมาณ 20 มม. ยาวประมาณ 25 มม. มีใบประดับสีเขียวใสติดอยู่ เมื่อแก่จะแตกที่ปลาย เมล็ดกลมมีเนื้อนุ่มคล้ายฟองน้ำหุ้ม

ผลโพกริ่ง
ผลโพกริ่ง ผลกลมสีเขียว

การขยายพันธุ์ของโพกริ่ง

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โพกริ่งต้องการ

ประโยชน์ของโพกริ่ง

พืชที่หายาก (ในประเทศไทย) พบตามป่าชายหาดที่เป็นหาดทรายตามเกาะและฝั่งทะเลที่ไม่ถูกรบกวน ปัจจุบันเหลือน้อยมากเนื่องจากถิ่นกำเนิดถูกทำลายหรือเปลี่ยนสภาพ

สรรพคุณทางยาของโพกริ่ง

  • ราก ใช้เคี้ยวกินแก้พิษบางชนิด เช่น พิษจากการกินปู หรือ ปลาที่มีพิษ
  • ต้น ยางที่ใช้เป็นยาถูผิวหนังเพื่อกำจัดขน น้ำต้มเปลือกกินเป็นยาถ่าย
  • ใบ ใบอ่อนกินเป็นยาถ่าย
  • เมล็ด  กินเป็นยาถ่าย แต่น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดเป็นพิษ

คุณค่าทางโภชนาการของโพกริ่ง

การแปรรูปของโพกริ่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rspg.or.th, www.คลังสมุนไพร.com
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment