โมกเครือ
ชื่ออื่นๆ : เครือไส้ตัน (นครราชสีมา หนองคาย) เดื่อเครือ, เดื่อดิน, เดื่อเถา, เดื่อไม้, โมกเครือ (ภาคเหนือ) เดือยดิน (ประจวบคีรีขันธ์) เดือยดิบ (กระบี่) มะเดื่อดิน (ทั่วไป) มะเดื่อเถา (ราชบุรี ภาคเหนือ) ย่านเดือยบิด (สุราษฎร์ธานี) พิษ (ภาคกลาง) ย่านเดือยบิด, ไส้ตัน, ดื่อเครือ, เดื่อดิน (ใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Burkill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amphineurion marginatum (Roxb.) D.J. Middleton
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของโมกเครือ
ต้น ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันไม้อื่น ลำต้นสีน้ำตาล มีตุ่มที่เป็นช่องอากาศจำนวนมาก ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบรูปขอบขนาน กว้าง 2-4.5 เซนติเมตร ยาว 5-12.5 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือกลม ผิวใบด้านบนเกลี้ยงมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นๆ ก้านใบมีขน ยาว 5-8 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดหรือตามง่ามใบ ยาว 5-10 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ที่โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขน กลีบดอกสีขาว ตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ที่โคนสุดเป็นกะเปาะ ปลายเรียวแคบแยกเป็น 5 แฉก ดอกตูมกลีบดอกจะบิดงอ
ผล เป็นฝักออกติดกันเป็นคู่ เมื่อแก่ แห้งและแตกออก เมล็ดรูปขอบขนานยาว ปลายด้านหนึ่งมีขนติดเป็นกระจุกอยู่
การขยายพันธุ์ของโมกเครือ
ใช้เมล็ด, ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่โมกเครือต้องการ
ประโยชน์ของโมกเครือ
- ยอดอ่อน กินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ อาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่แกงอ่อม
- ผลอ่อน นำมาต้มจิ้มน้ำพริก รสฝาดมัน ให้แคลเซียมและวิตามินเอสูง มีให้เก็บกินตลอดปี
สรรพคุณทางยาของโมกเครือ
ตำรายาไทย
- เถา มีรสเฝื่อนฝาด ใช้ทาฝี แก้เมื่อยขบ แก้ผดผื่นคัน นำมาผสมกับผลมะตูมอ่อน เถาสิงโต และว่านมหากาฬ ต้มน้ำดื่มรักษาโรคเบาหวาน เข้ายารักษาประดง แก้พิษภายใน
- ราก แก้ประดงเม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง แก้ลมพิษ แก้พิษภายใน แก้ตับไตพิการ บำรุงกำลัง ขับโลหิตระดู ขับปัสสาวะ
- ยอด ใช้แก้ท้องเสีย
- ใบ แก้เมื่อยขบ เข้ายาทารักษาฝี และริดสีดวงทวาร
คุณค่าทางโภชนาการของโมกเครือ
การแปรรูปของโมกเครือ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11256&SystemType=BEDO
www.flickr.com