โสกสะปัน
ชื่ออื่นๆ : โสกสะปัน
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้ที่ประเทศเวเนซูเอล่า
ชื่อสามัญ : Rose of Venezuela
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brownea grandiceps Jacq.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ลักษณะของโสกสะปัน
ต้น ไม้ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น ทรงต้นแผ่กว้าง กิ่งอ่อนมีขสีน้ำตาล
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบอ่อนมีสีแดงอมน้ำตาลอ่อน ใบย่อย 7-11 คู่ รูปรีหรือขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลมเป็นหางยาว โคนใบสอบมนหรือมนเบี้ยว
ดอก สีแดงออกเป็นช่อกลมแน่นที่ปลายกิ่ง ขนาด 14-18 ซม. ดอกย่อยเรียงกันแน่นเป็นกระจุก กลีบรองดอกแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ เรียงซ้อนกัน เกสรผู้ 6 อัน ออกดอกเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
ผล เป็นฝักแบน กว้าง 4.5-6 ซม. ยาว 12-29 ซม. มีขนแน่น เมื่อแก่แล้วแตก
การขยายพันธุ์ของโสกสะปัน
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
อาศัยเพศ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ไม่อาศัยเพศขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง
การปลูกเลี้ยง ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดปานกลาง
ธาตุอาหารหลักที่โสกสะปันต้องการ
ประโยชน์ของโสกสะปัน
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ขึ้นได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้น้ำ
สรรพคุณทางยาของโสกสะปัน
คุณค่าทางโภชนาการของโสกสะปัน
การแปรรูปของโสกสะปัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10209&SystemType=BEDO
https:// rpplant.royalparkrajapruek.org
https://www.flickr.com