ไทรย้อย
ชื่ออื่นๆ : จาเรย (เขมร) ไทร (นครศรีธรรมราช) ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์) ไทรย้อย, ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : อินเดียและภูมิภาคมาเลเซีย
ชื่อสามัญ : Golden Fig, Weeping Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus Benjamina L.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะของไทรย้อย
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง กิ่งก้านห้อยย้อยมีรากอากาศ มีน้ำยางขาว เปลือกสีน้ำตาล ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรีรูปไข่ กว้างปลายใบเรียวแหลม ใบมีขนาดยาว 6-13 เซนติเมตร ผิวเป็นมัน
ดอก ดอกสีเหลือง หรือ สีนำตาล ออกเป็นช่อแบบมะเดื่อ ดอกย่อยฝังตัว ดอกออกเดือน ธันวาคม-เมษายน
ผล ผลแบบมะเดื่อ ทรงกลมขนาด 5-8 มม.ออกเป็นคู่หรือ เดี่ยวตามซอกใบ ผลสุกสีส้นแดงเข้ม เมล็ดเล็กๆจำนวนมาก ผลออกเดือน ธันวาคม-เมษายน
การขยายพันธุ์ของไทรย้อย
การปักชำกิ่ง, การตอนกิ่ง, การเสียบยอด
ธาตุอาหารหลักที่ไทรย้อยต้องการ
ประโยชน์ของไทรย้อย
- ปลูกประดับให้ร่มเงาได้ดี
- รากอากาศ นำมาพันเป็นวงกลมเพื่อประดับดอกไม้แห้งเป็นพวงมาลา
- ผลเป็นอาหารนก
- ต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
- คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะ คนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ์ ร่มไทร ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยค้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะ บางคนเชื่อว่า ต้น ไทร เป็นไม้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข
สรรพคุณทางยาของไทรย้อย
- ราก แก้ตกโลหิต แก้นิ่ว บำรุงโลหิต แก้ท้องเสีย
- รากอากาศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
คุณค่าทางโภชนาการของไทรย้อย
การแปรรูปของไทรย้อย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9609&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment