ไทรใบสัก
ชื่ออื่นๆ : ไทรใบซอ, ไทรใบยอ
ต้นกำเนิด : ตะวันตกของทวีปแอฟริกา
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus lyrata Warb.
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ลักษณะของไทรใบสัก
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา มีหูใบหุ้มยอด ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีกว้างถึงรูปกลม ปลายติ่งหนามสั้น โคนรูปหัวใจ ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนา เป็นมัน สีเขียว เส้นกลางใบ เส้นใบ และเส้นใบย่อยชัดเจน
การขยายพันธุ์ของไทรใบสัก
ปักชำกิ่งและตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ไทรใบสักต้องการ
การเลี้ยงดู
- แสงแดด ต้นไทรใบสักเป็นพืชที่ชอบแสงแดด สามารถตั้งกลางแจ้งได้ปกติ หากจะต้องนำต้นไทรใบสักมาปลูกในพื้นที่คอนโด หรือพื้นที่ในร่ม ก็ต้องสำรวจกันสักหน่อยว่ามุมไหนมีแสงแดดส่องมายังพื้นที่ในคอนโดบ้าง อย่างน้อยให้ไทรใบสักได้โดนแดดบ้าง อาจจะเป็นแสงแดดรำไรก็ได้ ประมาณ 3-5 ชม. ต่อวัน
- ดิน ควรเป็นดินร่วน และภายในดินนั้นจะต้องมีช่องอากาศเพื่อให้ปลอดโปร่ง และสามารถระบายน้ำ และอากาศได้ดี ซึ่งการนำดินไปผสมกับแกลบ จะช่วยให้รากต้นไทรใบสักหายใจได้คล่องยิ่งขึ้น
- น้ำ ถ้าเป็นต้นขนาดใหญ่ปลูกลงดิน ต้นไทรใบสักจะชอบน้ำมากเพราะรับแสงแดดมากเช่นกัน แต่หากต้องนำมาปลูกในภายในพื้นที่คอนโดที่มีแสงแดดค่อนข้างน้อย ก็ควรจะลดการรดน้ำตามไปด้วย จึงทำให้ไม่ชอบน้ำเยอะ หากรดน้ำบ่อยจะทำให้รากเน่าและส่งผลให้ใบของไทรใบสักมีสีเหลือง ทางที่ดีควรรดน้ำประมาณ 2-4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือสังเกตจากผิวดิน ถ้าผิวดินแห้งก็ถึงเวลารดน้ำได้
ประโยชน์ของไทรใบสัก
ปลูกประดับในอาคาร ปลูกประดับสวน ปลูกเป็นไม้กระถาง อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ฟอกอากาศ
สรรพคุณทางยาของไทรใบสัก
คุณค่าทางโภชนาการของไทรใบสัก
การแปรรูปของไทรใบสัก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11470&SystemType=BEDO