ไผ่ตง หน่อนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร

ไผ่ตง

ชื่ออื่นๆ : ไผ่ตง

ต้นกำเนิด : อินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : Rough Giant Bamboo

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocalamus

ชื่อวงศ์ : วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae

ลักษณะของไผ่ตง

ต้น เป็นไผ่ประเภทเหง้ามีกอขนาดใหญ่ สูง 20–30 เมตร ลำตรงอัดกันเป็นกอค่อนข้างแน่น ปลายลำโค้งถึงห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 10–20 เซนติเมตร ปล้องยาว 20–50 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1–3.5 เซนติเมตร ลำอ่อนปล้องล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปล้องบนมีขนสีขาวหรือสีเทาปกคลุม ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา ปล้องล่างยังมีขนปกคลุมหนาแน่นและมักมีรากอากาศ จำนวนมากออกตามข้อ แตกกิ่งต่ำหรือตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีข้อลำ 3–5 กิ่ง กิ่งเด่นหนึ่งกิ่งอยู่ตรงกลาง กิ่งที่เหลือขนาดไล่เลี่ยกันมักมีรากอากาศที่กิ่ง

ใบ เป็นรูปแถบแกมรูปใบหอกมีขนาด กว้าง 1.5–4.5 เซนติเมตร ยาว 15–30 เซนติเมตร กาบหุ้มลำมีสีน้ำตาลอมม่วงหรือสีน้ำตาลจนถึงสีเขียวอ่อน กาบของหน่ออ่อนหรือกาบล่างๆของลำปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกาบของหน่อบินหรือปล้องบน ๆ ของลำมักมีขนสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีเทา ใบยอดกาบรูปใบหอก สีน้ำตาลอมม่วงจนถึงสีเขียวอมม่วง กางออกถึงพับลง หูกาบเป็นพูเด่น ขอบและด้านในมีขนแข็งและยาวปกคลุม ลิ้นกาบเป็นแถบสูงประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบจักไม่สม่ำเสมอและมีขน

ดอก ช่อดอกย่อยเทียมยาว 5–9 มิลลิเมตร กลูม 1–2 อัน ดอกย่อยสมบูรณ์ 4–5 ดอก ปลายช่อดอกย่อย มีดอกที่พัฒนาไม่เต็มที่ 1 ดอก เกสรตัวผู้ 6 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกอิสระ ยอดเกสรเพศเมีย 1 อัน

ไผ่ตง
ไผ่ตง ลำตรงอัดกันเป็นกอค่อนข้างแน่น

การขยายพันธุ์ของไผ่ตง

การเพาะเมล็ด, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, การแยกเหง้า, การชำปล้อง และการปักชำแขนง

ธาตุอาหารหลักที่ไผ่ตงต้องการ

ประโยชน์ของไผ่ตง

  • ลำ ใช้ในการก่อสร้าง เป็นวัสดุในการทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องจักสาน ลำต้นของไผ่ตงที่แก่จัดๆสามารถนำมาเหลาทำผืนระนาดเอก-ระนาดทุ้มได้
  • หน่อ นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร

สรรพคุณทางยาของไผ่ตง

คุณค่าทางโภชนาการของไผ่ตง

การแปรรูปของไผ่ตง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10067&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment