ไผ่หวาน ไผ่บงหวาน มีรสชาติหวาน กรอบ หน่อมีสีขาวเหลือง สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ไผ่หวาน

ชื่ออื่นๆ : ไผ่บงหวาน 

ต้นกำเนิด : ประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทย พบในป่าผสมผลัดใบ (เบญจพรรณ) ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อสามัญ : Waan Ang-khang Bamboo Shoot

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus latiflorus.

ชื่อวงศ์ : Gramineae.

ลักษณะของไผ่หวาน

ลักษณะโดยทั่วไป เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะกอเป็นพุ่มแน่น ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวแก่ ลำต้นมักมีลักษณะคดงอ มีการแตกกิ่งจำนวน 2-5 กิ่งตลอดลำ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 ซ.ม. สูงประมาณ 5-8 เมตร บริเวณเหนือข้อเล็กน้อยจะเห็นเป็นแถบวงแหวนสีขาวรอบลำชัดเจน และมีรากอากาศรอบ ๆ ข้อ ลักษณะที่สังเกตง่ายที่สุด คือ ครีบกาบทั้งสองข้างของกาบหุ้มลำจะมีขนาดไม่เท่ากัน และมีรูปทรงต่างกัน ซึ่งปกติครีบกาบของไผ่ชนิดอื่นจะมีขนาดเท่ากัน หรือเหมือนกัน ไผ่หวานมีใบขนาดกลาง สำหรับผลนั้นเป็นหน่อมีสีเขียวหนักประมาณ 200-300 กรัม

ต้นไผ่หวาน
ต้นไผ่หวาน ลำอ่อนมีสีเขียวใบไม้ ลำแก่จะมีสีเขียวแก่

การขยายพันธุ์ของการปลูกและขยายพันธุ์ไผ่หวานไผ่หวาน

หลุมปลูกมีขนาด กว้างxยาวxลึก ไม่น้อยกว่า 50x50x50 เซนติเมตร ให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินคนให้ทั่ว แล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุมให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อย เผื่อสำหรับดินยุบตัวภายกลัง การปลูกและระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสม การปลูกในฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน เนื่องจากช่วงระยะที่เริ่มปลูกไผ่หวานต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วงฤดูฝนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำลงได้มาก และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติมโตดีที่สุดด้วย สำหรับระยะปลูกและจำนวนกล้าไผ่หวานต่อพื้นที่ ควรมีระยะปลูกประมาณ 8×8 เมตร หรือประมาณ 25 กอต่อไร่ หลุมที่ปลูกมีขนาดประมาณ 50x50x50 เมตร

ใบไผ่หวาน
ใบไผ่หวาน ใบขนาดกลางยาวรี ปลายแหลม

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ จะพบขึ้นในป่าผสมผลัดใบ (ป่าเบญจพรรณ ) ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากที่สุดที่จังหวัดเลย สำหรับการขยายพันธุ์และผลิตกล้านั้น สามารถดำเนินการได้โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด ในการปลูกนั้นจะต้องมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก โดยเน้นที่ดินการปลูกในดินร่วนปนทราย ดินลึก มีการระบายน้ำดี สำหรับความชื้นไผ่หวานเป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้นมาก

การบำรุงรักษา
การปลูกและการบำรุงรักษานั้น การปลูกไผ่หวานควรคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ก่อน โดยเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้งซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยปลูกในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนินหรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิกกำจัดตอออกให้หมดปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นราบอยู่แล้วแค่ไถพรวน กำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอแล้ว ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปีก็สามารถปลูกไผ่หวานได้ตลอดปีเช่นกัน

ธาตุอาหารหลักที่ไผ่หวานต้องการ

ประโยชน์ของไผ่หวาน

  • ลำต้น ทำเครื่องจักสาน
  • หน่อไม้ ใช้ประกอบอาหาร

สรรพคุณทางยาของไผ่หวาน

ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษ แก้กระหาย แก้ไอ ช่วยขับเสมะ ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงฟัน ช่วยสร้างเม็ดเลือด ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง มีอนุมูลอิสระ แก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของไผ่หวาน

มีโปรตีน แคลเซียม วิตามิน B1 B2 แลเวิตามิน C

การแปรรูปของไผ่หวาน

สามาถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดทั้งแบบสด หรือเป็นผักลวกจิ้ม สามารถนำไปแปรรูป เช่น อบแห้ง ดองเค็ม ดองเปรี้ยว ดองเต้าเจี้ยว ผัดใส่ไข่ ต้ม แกง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9629&SystemType=BEDO
www.dnp.go.th
www.hkm.hrdi.or.th
www.flickr.com

Add a Comment