ไฟเดือนห้า ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว-เป็นพืชมีพิษ

ไฟเดือนห้า

ชื่ออื่นๆ : ค่าน้ำ (ลำปาง) คำแค่ (เงี้ยว- แม่ฮ่องสอน) ดอกไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี) เด็งจ้อน (ลำปาง) เทียนแดง (ภาคกลาง) เทียนใต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เทียนทำ (เชียงใหม่) นางแย้ม (นครราชสีมา) บัวลาแดง, พริกนก (เชียงใหม่) พอตอซู (กะเหรี่ยง-ตาก) พอสู่เหนาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ไฟเดือนห้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์) ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี)

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Bastard ipecacuanha, Butterfly Weed, Blood Flower, Milkweed, Silkweed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Asclepias curassavica L.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของไฟเดือนห้า

ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 40-60 เซนติเมตร กิ่งอ่อนมีขน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 7-20 ดอก ก้านช่อดอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกสีแดงอมส้ม กลีบดอก 5 กลีบ โค้งงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา เกสรเพศผู้ 5 เกสร

ผล รูปกระสวย ยาว 5-10 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม รูปไข่ แบน และมีขนยาวสีขาว

ไฟเดือนห้า
ไฟเดือนห้า ใบเดี่ยว รูปหอกยาว ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของไฟเดือนห้า

การเพาะเมล็ด

การปลูก ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดเต็มวันถึงครึ่งวัน

ธาตุอาหารหลักที่ไฟเดือนห้าต้องการ

ประโยชน์ของไฟเดือนห้า

ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้กระถาง ขนที่ติดเมล็ดนำไปใช้ยัดหมอน และใช้เป็นสมุนไพร

ส่วนที่เป็นพิษ
– ทุกส่วนมีสารพวกกลัยโคไสด์ ถ้ากินมากเกินไจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้
– ส่วนต่าง ๆ มีสาร asclepiadin เป็นพิษโดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงอาจถึงชีวิต

ผลไฟเดือนห้า
ผลไฟเดือนห้า ผลสีเขียว รูปกระสวย

สรรพคุณทางยาของไฟเดือนห้า

  • ราก แก้ฟกช้ำ ทำให้อาเจียน
  • ต้น รักษาโรคหัวใจ บำรุงธาตุ
  • ใบ ฆ่าเชื้อโรคเรื้อน ขับพยาธิไส้เดือน
  • ดอก แก้ปวดศีรษะ
ดอกไฟเดือนห้า
ดอกไฟเดือนห้า ดอกสีแดงอมส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของไฟเดือนห้า

การแปรรูปของไฟเดือนห้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9881&SystemType=BEDO
www.data.addrun.org
www.flickr.com

Add a Comment