ไม้แดง สรรพคุณทางยาของไม้แดงและประโยชน์ไม้แดง

ไม้แดง สรรพคุณทางยาของไม้แดงและประโยชน์ไม้แดง

ชื่ออื่นๆ : คว้าย(เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว(แพร่ แม่ฮ่องสอน), จะลาน, จาลาน, ตะกร้อม, สะกรอม(จันทบุรี), ปราน (สุรินทร์) 

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : TEAK

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis Linn.f.

ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ไม้แดง ประโยชน์และสรรพคุณของไม้แดง
เปลือกไม้แดง

ลักษณะของไม้แดง

  • ไม้แดง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงจนถึง 25 เมตร แต่บางครั้งอาจสูงถึง 30 – 37 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง หรือเป็นปุ่มปม เรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้าง ไม่ค่อยแน่นอน สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบสีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม ใบ เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านใบยาว 2 – 7 ซม. ช่อใบยาว 10 – 22 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อย 4 – 5 คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบมักจะเบี้ยว มีขนาดไม่เท่ากัน กว้าง 3 – 7 ซม. ยาว 7 – 20 ซม. ปลายใบแหลมมน ฐานใบมักจะเบี้ยว ใบแก่ไม่มีขนปกคลุม หรืออาจจะมีขนประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2 – 4 มม.
  • ดอก สีเหลือง ขนาดเล็ก ขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ละช่อประมาณ 1.4 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2 –5 ซม. มีขนปกคลุมประปราย กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ มีขนสีเหลืองปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกจากกันเป็นอิสระยื่นออกมานอกดอก ดอกจะออกมาพร้อมกับใบอ่อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ อาจถึงมีนาคม ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
  • ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักแข็ง ยาวประมาณ 7 – 10 ซม. สีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ไม่มีก้าน เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ผนังของฝักที่แตกมักจะม้วนบิดงอ
    เมล็ด แบนเรียวแหลม ยาวรีหรือเกือบกลม ยาว 0.4 – 0.7 นิ้ว กว้าง 0.35 – 0.5 นิ้ว สีน้ำตาลเป็นมัน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งขอประมาณ เมล็ดถ้าสมบูรณ์ดีจะงอกทันที ถ้าเก็บไว้ในระยะ 1 ปี ก็ยังคงงอกได้ดี ฝักหนึ่งจะมีเมล็ดจำนวนหลายเมล็ด
    ลักษณะเนื้อไม้ สีแดงเรื่อ ๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่น หรือมักสน เนื้อละเอียดพอประมาณ แข็ง แข็งแรง เหนียวและทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตบแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี ความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 เนื้อไม้มีความแข็งประมาณ 1,030 กก. ความทนทานตามธรรมชาติ ตั้งแต่ 10 – 18 ปี การอาบน้ำยาไม้อาบได้ยาก

การขยายพันธุ์ของไม้แดง

  • เมล็ดไม้แดงที่จะนำมาเพาะควรเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดี และมีความแก่ที่สมบูรณ์เต็มที่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ด ควรอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม แต่ในบางปีอาจยึดออกไปถึงเดือนเมษายน การเก็บเมล็ดสามารถทำได้ทั้งการเก็บบนพื้นดิน และการปืนขึ้นไปบนต้นโดยตัดเอาฝักลงมา ฝักที่เก็บควรเป็นฝักสีน้ำตาบแดงเขียวแห้งซึ่งไม่แตกออก จะทำให้ได้เมล็ดที่ค่อนข้างสมบูรณ์ฝักที่ได้กที่ได้นำมาตากแคดจนฝักแตออก ทำการเก็บเมล็ดออกจากฝัก นำมาตากแดด 1-2 วันเพื่อให้เมล็ดแห้งสนิท ทำการคัดเมล็ดออกแล้วนำไปเก็บรักษาไว้ในห้องอุณหภูมิธรรมดา เมล็ดไม้แดงสามารถเก็บไว้เป็นเวลานานถึง 4 เดือน หลังจากเก็บเมล็ดแล้ว โดยที่ไม่มีการสูญเสียการงอกแต่อย่างใด ซึ่งจากการศึกษาการงอกของเมล็ดแดงช่วงเวลาต่างๆ กัน หลังจากเก็บเมล็ดแล้ว 1-4 เดือน ปรากฏว่าอัตราการงอกของเมล็ดแดงที่เก็บรักษาในช่วง 4 เดือนแรกมีอัตราการงอกไม่แตกต่างกัน แต่เมล็ดที่เก็บไว้ในเดือนที่ 5 อัตราการงอกจะลดลงในช่วงเดือนที่ 5

ประโยชน์ของไม้แดง

  • เนื้อไม้แดง เป็นไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี เนื้อไม้จึงค่อนข้างแข็งแรง หนัก ทนทานต่อการกระแทกสูง การใช้ประโยชน์เนื้อไม้จึงใช้กับงานก่อสร้าง เช่น ใช้ทำเสา คาน ไม้พื้น ใช้ทำเครื่องเรือนเรือ ไม้หมอนรถไฟ สะพาน เครื่องมือทางการเกษตร เป็นต้น
  • ไม้แดง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปลูกป่าหรือต้นไม้เพื่อการปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกในเชิงอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารในบริเวณที่เป็นภูเขาหรือมีความลาดชันสูง ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะว่าไม้แดงมีระบบรากลึกและรากแผ่ กระจายได้ดี ทำให้ชะลอการพังทลายของหน้าดินโดยเฉพาะบริเวณ ดินร่วน ดินทราย
    นอกจากนี้ยังเหมาะสมในการปลูกป่าปรับปรุงสภาพป่าเสื่อมโทรม วนเกษตร ป่าชุมชนดั้งเดิม
    และป่าปลูกใหม่
  • ไม้แดงนำไปทำเป็นถ่านและฟืนเพราะไม้แดงให้กิ่งก้านพอสมควร ถ่านไม้แดงจะให้ค่าความร้อนสูงถึง 7,384 แคลอรี่/กรัม

สรรพคุณทางยาของไม้แดง

  • แก่นไม้แดง ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิตและโรคกษัย เห็นที่เกิดจากไม้แดง แก้พิษ โลหิตและอาการปวดอักเสบของฝี ต่างๆ ดับพิษ ไข้กาฬ
  • เปลือกไม้แดง มีรสฝาด ใช้สมานธาตุ
  • ดอกไม้แดง ผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ

การแปรรูปของไม้แดง

     ไม้แดงสามารถนำมาแปรรูปในงานก่อสร้าง เช่น ใช้ทำเสา คาน ไม้พื้น ใช้ทำเครื่องเรือนเรือ ไม้หมอนรถไฟ สะพาน เครื่องมือทางการเกษตร เป็นต้น และแปรรูปเป็นถ่านและฟืน

References : www.bedo.or.th

ภาพประกอบ : th.wikipedia.org/wiki/แดง_(พรรณไม้)

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment