มะลิไส้ไก่ ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านหนาแน่นคล้ายเถาเลื้อย

มะลิไส้ไก่

ชื่ออื่นๆ : มะลิย่าน มะลิเถื่อน ลิ (ภาคใต้) เสี้ยวต้น ดอกใบ ไลไก่ ดอกเสี้ยว ไส้ไก่ เขี้ยวงู (ทั่วไป) มะลิฝรั่ง (เชียงใหม่) เครือไส้ไก่ มอกส่วยเตาะ มะลิจี่เลี่ยม มะลิป่า มะลิเลี่ยม

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มะลิไส้ไก่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum elongatum (Bergius) Willd.

ชื่อวงศ์ : OLEACEAE

ลักษณะของมะลิไส้ไก่

ต้น  เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ต้นสูงหรือเลื้อยได้ไม่เกิน 2-3.5 เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่นคล้ายเถาเลื้อย

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ ใบรูปหอก กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
สีเขียวสด ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร

ดอก  ช่อดอกสีขาว ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ 6 แฉก มีขนประปราย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกรูปขอบขนาด 6-8 แฉก เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็น ดอกบานวันเดียวแล้วโรย มีฤดูออกดอกอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ออกดอกสีขาวโพลนเต็มต้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 

ผล  ผลเดี่ยว กลมรีเล็กน้อย เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีดำ มีเมล็ดเดียว

มะลิไส้ไก่
มะลิไส้ไก่ ดอกสีขาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปขอบขนาด 6-8 แฉก
ผลมะลิไส้ไก่
ผลมะลิไส้ไก่ ผลกลมสีดำ

การขยายพันธุ์ของมะลิไส้ไก่

การปักชำและตอนกิ่ง  ปลูกเลี้ยงในที่ร่มรำไร ชอบความชื้นสูง

ธาตุอาหารหลักที่มะลิไส้ไก่ต้องการ

ประโยชน์ของมะลิไส้ไก่

  • ผลสุกมีสีม่วงอมดำ เปลือกนิ่ม รสหวานเล็กน้อย จึงเป็นอาหารของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
  • ใช้เป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของมะลิไส้ไก่

คุณค่าทางโภชนาการของมะลิไส้ไก่

การแปรรูปของมะลิไส้ไก่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12089&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment