กรวยป่า ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ

กรวยป่า

ชื่ออื่นๆ : ก้วย, ผีเสื้อหลวง, สีเสื้อหลวง (ภาคเหนือ) ขุนเหยิง, บุนเหยิง (สกลนคร) คอแลน (นครราชสีมา) ตวย (เพชรบูรณ์) ตวยใหญ่, ตานเสี้ยน (พิษณุโลก) ผ่าสาม (นครพนม, อุดรธานี) กรวยป่า (กลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Kruaipaa

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casearia grewiaefolia Vent. var.grewiifolia

ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE

ลักษณะของกรวยป่า

ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ สูง 7-18 เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ผิวเขียวเข้ม หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ

ใบ  ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับดอกสองข้างของโคนใบ ใบมน ปลายแหลมทู่ ๆ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง

ดอก  ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ผลรูปรี โต

ผล  ผลแก่สีเขียวจัด เมล็ดมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม

กรวยป่า
กรวยป่า ใบมน ปลายแหลมทู่ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของกรวยป่า

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย

ธาตุอาหารหลักที่กรวยป่าต้องการ

ประโยชน์ของกรวยป่า

  • เมล็ด ใช้เบื่อปลา
  • ใบ หุง เป็นน้ำมันทาบาดแผลและผิวหนังเป็นยาฆ่าแบคทีเรีย

สรรพคุณทางยาของกรวยป่า

  • ใบ ต้มรับประทาน มีรสเมา แก้พิษกาฬ แก้โรคผิวหนังผืนคันที่มีตัว
  • ใช้ใบหั่นผสมกับยาสูบมวนสูบๆ แก้ริดสีดวงจมูก
  • ดอก ต้มรับประทาน แก้พิษกาฬ พิษไข้
    เมล็ด แก้ริดสีดวง และใช้เบื่อปลา
  • ราก ต้มแก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ
  • เปลือกต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง น้ำมันในเมล็ดทาแก้โรคผิวหนัง
  • ใบ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน เมล็ด แก้ริดสีดวงทวาร

คุณค่าทางโภชนาการของกรวยป่า

การแปรรูปของกรวยป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10312&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment