กล้วยน้ำว้าค่อม
ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำว้าเตี้ย, กล้วยน้ำว้าปีนัง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Kluai Namwa Khom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB group) “Kluai Nam Wa Khom”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยน้ำว้าค่อม
ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.0-2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมมีจุดประทั่วไป กาบด้านในสีขาว โคนต้นสีชมพู ไม่มีไข
ใบ โคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบปิด ขอบมีสีแดง เส้นกลางใบสีขาว

ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีห้อย ใบประดับรูปไข่แต่ค่อนข้างป้อม สีด้านบนสีแดงคล้ำ มีไข ด้านล่างสีแดง ปลายใบประดับแหลม ไม่ม้วน การเรียงของใบประดับซ้อนกันมาก ก้านช่อดอกสั้น

ผล ผลขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร หวีหนึ่งประมาณ 15-20 ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 10-12 หวี รูปร่างผลป้อม ทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม เปลือกเมื่อสุกเนื้อสีขาวมีไส้เหลือง รสหวาน บางครั้งมีเมล็ดแต่ไม่มาก เมล็ดมีสีดำ แข็ง

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้าค่อม
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำว้าค่อมต้องการ
ชอบความชื้นสูง กลางแจ้งในที่โล่ง ดินทรายปนเหนียว
ประโยชน์ของกล้วน้ำว้าค่อม
- รับประทานผล
- ใบตองใช้ห่อของ
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้าค่อม
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้าค่อม
การแปรรูปของกล้วยน้ำว้าค่อม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมพันธุ์กล้วย
One Comment