กล้วยบัวสีชมพู
ชื่ออื่นๆ : กล้วยบัวสีชมพู, กล้วยบัว
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ : Flowering banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa ornata Roxb.
ชื่อพ้อง : Musa mexicana Matuda, Musa speciosa Ten, Musa troglodytarum var. rubrifolia Kuntze
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยบัวสีชมพู
ต้น ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร การแตกหน่อใกล้ต้นแม่ สีของกาบลำต้นเทียมสีเขียวปนเหลือง มีประดำน้อย มีไขบนลำต้นมาก บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู
ใบ เส้นกลางใบมีสีชมพู บริเวณโคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบตั้งขึ้น

ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกหรือก้านเครือเรียบเป็นมันไม่มีขน ช่อดอกหรือปลีชี้ตั้งขึ้น ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว มีปลายแหลม ด้านบนสีชมพูอมม่วงมีนวลเล็กน้อย สีด้านล่างชมพูอมมม่วง ใบประดับม้วนเล็กน้อย ดอกย่อยกลีบรวมสีส้มเข้ม โคนกลีบสีครีม กลีบรวมเดี่ยวบาง ปลายกลีบแต้มสีเหลืองอ่อน บริเวณตรงกลางสีครีมปนสีชมพู มีรอยหยักบริเวณปลายกลีบเล็กน้อย

ผล ผลขนาดเล็ก มีสีเขียว เรียงชิดกันคล้ายนิ้วมือ ผิวเปลือกเรียบ ยาวประมาณ 4 ซม. มีเนื้อกินได้แต่ไม่นิยม เครือหนึ่งมีประมาณ 2 หวี แต่ถ้าปลูกในที่อากาศเย็น ผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและมี 7 – 8 หวีต่อเครือได้

การขยายพันธุ์ของกล้วยบัวสีชมพู
การแยกหน่อ
การปลูก ดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยบัวสีชมพูต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยบัวสีชมพู
- ใช้จัดสวน
- ดอกใช้ประดับ
สรรพคุณทางยาของกล้วยบัวสีชมพู
กาบหัวปลี,ผล,รากเหง้า เป็นยาแก้ท้องเสียในเด็ก
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยบัวสีชมพู
การแปรรูปของกล้วยบัวสีชมพู
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://adeq.or.th, https://botany.wu.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com, รวบรวมสายพันธุ์กล้วย
One Comment