กล้วยมาฮอย
ชื่ออื่นๆ : กล้วยมาฮอย, กล้วยสองเครือ, กล้วยเตี้ย
ต้นกำเนิด : ตอนใต้ของประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA group) “Kluai Mahoy”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยมาฮอย
ต้น เป็นกล้วยที่มีลำต้นเตี้ยโดยมีส่วนสูงประมาณ 1.50-1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 18 – 22 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีน้ำตาลอมแดงกาบด้านในสีแดงเจือชมพู (จัดอยู่ในกลุ่มของกล้วยหอมเขียว)
ใบ ทางใบยาวประมาณ 120 เซนติเมตร แผ่นใบกว้างหนาสีเขียวทึบ ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิดมีขอบสีน้ำตาลแดง
ดอก หรือปลีรูปทรงกระบอกปลายแหลม กาบด้านนอกสีแดงอมม่วง ใบประดับไม่หลุด
ผล ใน 1 เครือ จะมีประมาณ 7 – 9 หวี ๆ ละ 14 – 16 ผล ขนาดผลกว้าง 3.8 – 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16-16.5 เซนติเมตร ผลเหยียดตรงปลายผลมีจุกเล็กน้อย ผลดิบสีเขียวสด ผลแก่สีเหลืองอ่อนเปลือกหนา ถ้าบ่มในอุณหภูมิต่ำหรืออากาศหนาวเย็นเกิน 5 วัน จะได้กล้วยที่มีผิวสีเหลืองคล้ายกล้วยหอมทอง ผลสุกเนื้อสีครีม รสหวานจัด กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างแรง เนื้อเละ ไม่มีเมล็ด


การขยายพันธุ์ของกล้วยมาฮอย
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยมาฮอยต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยมาฮอย
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้

สรรพคุณทางยาของกล้วยมาฮอย
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยมาฮอย
การแปรรูปของกล้วยมาฮอย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.acc.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.shopee.co.th, www.lazada.co.th, www.pantip.com
One Comment