การกำจัดขยะและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน หมายถึงเศษซากพืชอินทรียวัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ไส้เดือนดินกินเข้าไปแล้วผ่านกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ขับถ่ายออกมาเป็นมูล มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ มีธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้ได้

น้ำหมักมูลไส้เดือน หมายถึงน้ำที่ได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ซึ่งได้จากการเน่าสลายของเศษขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดิน น้ำหมักที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลวสี น้ำตาลดำ คล้ายน้ำโคล่า ไม่มีกลิ่นเหม็น

คุณสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

จะเป็นเม็ดร่วนสีน้ำตาล โปร่งเบา มีความพรุนระบายน้ำ และอากาศได้ดีมาก มีความจุความชื้นสูง และปริมาณอินทรีย์วัตถุสูงมาก

บทบาทที่เป็นประโยชน์ของไส้เดือนดิน

  1. ช่วยพลิกกลับดิน โดยการกินดินที่มีแร่ธาตุบริเวณด้านล่างแล้วถ่ายมูลบริเวณผิวดินด้านบน ช่วยให้เกิดการผสม คลุกเคล้าแร่ธาตุในดิน ท าให้พืชสามารถดูดแร่ธาตุเหล่านี้ไปใช้ได้พืช
  2. ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ซากพืช ซากสัตว์และอินทรีย์วัตถุต่างๆ ทำให้แร่ธาตุต่างๆ อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไนโตรเจน ในรูปแอมโมเนียและไนเตรท เป็นต้น
  3. ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม ไมคอร์ไรซา ในบริเวณรากพืช
  4. การชอนไชของไส้เดือนดิน ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทน้ำละอากาศดี ดินอุ้มน้ำดีขึ้น รากพืชชอนไชได้ดี

รูปแบบการเลี้ยงไส้เดือนดินก าจัดขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน

  1. รูปแบบการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในภาชนะต่างๆ
    เลี้ยงในครัวเรือน โดยเลี้ยงในภาชนะที่หาได้จากครัวเรือน เหมาะสำหรับกำจัดขยะอินทรีย์ภายในบ้านและนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ ได้มาใช้ปลูกต้นไม้ภายในบ้านเรือน
  2. รูปแบบการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในภาชนะที่ตั้งเป็นชั้น
    เลี้ยงในภาชนะที่เรียงกันเป็นชั้นๆ ได้ ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสำหรับกำจัดขยะ
    อินทรีย์ในครัวเรือน ข้อเสีย คือ ใช้แรงงานมากเวลาเติมขยะอินทรีย์แต่ละครั้ง หรือเมื่อเคลื่อนย้ายชุดเลี้ยง โดยทั่วไปจะมีจำนวน 4 ชั้น โดย 3 ชั้นบน ใช้เลี้ยงไส้เดือน จะเจาะเป็นรูระบายน้ำ แต่ชั้นล่างสุดจะไม่เจาะรูสำหรับเก็บน้ำหมัก
  3. รูปแบบการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแบบแปลงกลางแจ้ง
    เป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ง่าย และไม่ใช้เทคนิคอะไรมาก โดยกองวัตถุอินทรีย์เป็นแปลงยาวหลายๆ แถวในบริเวณกลางแจ้ง แล้วจึงนำไส้เดือนดินปล่อย คลุมแปลงด้วยฟาง ข้อเสีย คือไส้เดือนอาจเลื้อยหนี หรือมีสัตว์อื่นๆมากินไส้เดือนดิน และมีน้ำท่วมขังได้ง่าย
  4. รูปแบบการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในโรงเรือน
    เป็นระบบที่ค่อนข้างใหญ่ สามารถกำจัดขยะได้ครั้งละหลายๆ ตัน
  5. รูปแบบการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแบบควบคุมอัติโนมัต
    เป็นรูปแบบการผลิตเชิงการค้าควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติอาศัยความรู้และประสบการณ์สูง

การเตรียมการก่อนเริ่มกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

  1. คัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดิน โดยพิจารณาด้าน อัตราการแพร่พันธุ์ การเจริญเติบโต การอยู่รอด และความต้านทานต่อสภาพแวดล้อม
  2. จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่จะเลี้ยง โดยพิจารณาจากสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมในธรรมชาติ
  3. ศึกษาแหล่งอาหาร ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ชอบอะไรเป็นพิเศษ เช่น ไส้เดือนดินที่อาศัยในมูลสัตว์จะมีแหล่งอาหารมาจากมูลสัตว์ เป็นต้น
  4. เลือกรูปแบบหรือกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการกำจัดขยะ เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก ง่ายต่อการจัดการ สามารถปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตต่อไปในอนาคตได้
  5. จัดหาแหล่งขยะอินทรีย์ที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่เหมาะสมต่อสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่เลือก
  6. ศึกษาถึงวิธีการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน มาผลิตเป็นวัสดุสำหรับปลูกพืชชนิดต่างๆ โดยนำปุ๋ยหมักที่ได้มาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารต่างๆ แล้วน าไปทดสอบกับพืช ปรับปรุงคุณภาพให้ดี จึงนำไปบรรจุจำหน่ายได้
  7. ศึกษาวิธีการเก็บผลผลิต จากตัวไส้เดือนดินที่ขยายเพิ่มขึ้น แล้วนำไปผ่านกระบวนการการผลิตเป็นอาหารโปรตีนสูง ใช้เป็นอาหารเสริมสัตว์โดยวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและทดสอบความเป็นพิษต่อสัตว์ด้วย
ปุ๋ยไส้เดือนดิน
ปุ๋ยไส้เดือนดิน การนำไส้เดือนมาเลี้ยงในมูลสัตว์

วัสดุอินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

  1. มูลวัว – ควาย ใช้เลี้ยงไส้เดือนให้เจริญเติบโตได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีลักษณะเป็นก้อนไม่อยู่ในรูปของโคลน เหลวเหมือนอย่างมูลสุกร
  2. มูลม้า ใช้เลี้ยงไส้เดือนได้อย่างดีเยี่ยม แต่มูลม้าส่วนมากจะเป็นก้อนแข็งและค่อนข้างแห้งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อน เช่น การแช่น้ำหรือการหมักให้มีความชื้นเพิ่มขึ้น ทำให้ยุ่ย
  3. ของเสียจากสุกร เช่น มูล ปัสสาวะ เศษอาหาร ที่อยู่ภายในคอก ของเสียส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของแอมโมเนียและเกลืออินทรีย์ อยู่สูง ยังไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการนำไปใช้เลี้ยงไส้เดือนดิน สำหรับของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นกาก สามารถนำมาผ่านกระบวนการหมัก เพื่อลดแอมโมเนียและเกลืออนินทรีย์ แต่ถ้าของเสียเหล่านั้นมีลักษณะเป็นโคลนเหลว จำเป็นต้องแยกเอาน้ำออกไปบางส่วนให้เหลือแต่กากด้วยเครื่องแยก วิธีการตกตะกอนกาก หรือปล่อยให้น้ำระเหยออกไปบางส่วนแล้ว จึงนำมาหมักและใช้เลี้ยงไส้เดือนดินต่อไป
  4. ของเสียจากสัตว์ปีก จำพวกไก่ สามารถน ามูลไก่มาหรือวัสดุรองพื้นเล้าไก่ไปให้ไส้เดือนดินย่อยสลายเพื่อผลิตปุ๋ยคุณภาพสูงต่อไป แต่ต้องนำมาหมักหรือแช่น้ำทิ้งไว้ หรือเก็บไว้เป็นเวลานาน เนื่องจากมูลไก่ใหม่จะมีส่วนประกอบของเกลืออนินทรีย์ และแอมโมเนียอยู่สูง อาจทำอันตรายต่อไส้เดือนดินได้
  5. เศษขยะหรือของเสียจากชุมชน สามารถนำมาเลี้ยงไส้เดือนดิน เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักได้ดีมากสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อก าจัดขยะอินทรีย์ คือ สายพันธุ์ Pheretima peguana หรือ ขี้ตาแร่ ลำตัวกลม มีสีแดงออกม่วง ขนาดปานกลาง ยาว 2 – 5 นิ้ว อาศัยอยู่ใต้กองมูลสัตว์ กินเศษซากอินทรีย์เป็นอาหาร แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง ขี้ตาแร่ คือ 25 องศา ความชื้นประมาณ 70-90 % ค่า พีเอช (pH) ประมาณ 5 – 8 และต้องมีการระบายอากาศที่ดี

ขั้นตอนการเตรียมการเลี้ยงไส้เดือนดิน

  1. การสร้างโรงเรือน
    สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ต้องเป็นโรงเรือนที่ป้องกันน้ำฝนได้ พรางแสงได้ และสามารถป้องกันไม่ให้แมลงหรือสัตว์ที่ล่าไส้เดือนดินเป็นอาหาร เช่น นก กบ หนู ฯลฯ วัสดุที่ใช้สร้างโรงเรือน เช่น กระเบื้อง ตาข่าย ไม้ไผ่ คา เป็นต้น ขนาดของโรงเรือนขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่มีและปริมาณของขยะอินทรีย์ด้วย ภายในโรงเรือนต้องติดตั้งก๊อกน้ำและหลอดไฟไว้สำหรับใช้ในการเพิ่มความชื้น หรือให้แสงสว่างในการทำงานช่วงกลางคืน
  2. การสร้างบ่อเลี้ยงไส้เดือน
    บ่อเลี้ยงไส้เดือนดินที่เหมาะสม คือ กว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับปริมาณขยะอินทรีย์ และขนาดของพื้นที่ ความลึกไม่ควรเกิน 1 เมตร และควรให้มีการลาดเอียงของพื้นบ่อประมาณ 1-2 % และต้องต่อท่อระบายน้ำหมักออกจากบ่อเลี้ยงไส้เดือนดินในจุดที่ต่ำสุดของพื้นบ่อออกไปยังบ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน
  3. การสร้างบ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน
    ขนาดบ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดินจะมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำหมักที่ได้แต่ไม่ควรสร้างใหญ่มาก เนื่องจากพื้นที่ของบ่อกว้างมากจะทำให้มีพื้นทการระเหยของน้ำมากด้วย ขยะอินทรีย์บางชนิดจำเป็นต้องนำมาหมักก่อนถึงจะนำไปใส่ในบ่อเลี้ยงให้ไส้เดือนดินย่อยสลายต่อไป ถ้าเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะขนาดเล็ก สามารถหมักขยะอินทรีย์ในถังขนาดเล็กได้ แต่ถ้า เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ จะต้องสร้างบ่อหมักให้มีพื้นที่บ่อหมัก เท่ากับ 1 ใน 3 ของบ่อเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยให้มีความกว้าง ความยาวเท่าไหร่ก็ได้ แต่ความสูงไม่เกิน 1 เมตร

สัดส่วนของผลผลิตที่ได้จากระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

  1. การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน
    สำหรับไส้เดือนดินสายพันธุ์ ขี้ตาแร่ ซึ่งอาศัยอยู่ในมูลวัว ดังนั้นการเตรียมดินจึงควรมส่วนผสมของมูลวัว โดยใช้ดินร่วนตากแห้ง 8 ส่วน ผสมกับมูลวัวแห้ง 2 ส่วน แล้วหมักไว้ที่มความชื้น 20 % โดยน้ำหนัก นาน 20 วัน จึงนำมาเป็นที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน อาจใช้วัสดุอื่นๆเป็นส่วนผสมด้วยก็ได้ เช่น ฟางข้าว มูลสัตว์อื่นๆ ไม่ควรใช้ดินเหนียง เนื่องจาก ระบายน้ำและอากาศไม่ดี
  2. การปล่อยไส้เดือนดินลงบ่อ
    ภาชนะเลี้ยงปากกว้าง 30 ซม. ใส่ไส้เดือนดิน 100 ตัว ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเลี้ยงเริ่มต้น หรือ วงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สามารถใส่ไส้เดือนดิน 1,000 – 1,500 ตัวหรือไส้เดือนดิน 1 กก. ไม่ควรใส่ไส้เดือนดินหนาแน่นเกิน 10 กก. ต่อตารางเมตร เพราะจะทำใหออกซิเจนในบ่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
  3. ปริมาณการกินขยะอินทรีย์ของไส้เดือนดิน
    แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับจำนวนไส้ เดือ นดินและสภาพแวดล้อมนั้นๆ ปกติไส้เดือนดินชอบอาหารที่มีโปรตีนสูง รวมถึงดินที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุมาก สรุปว่า ไส้เดือนดินน้ าหนัก 0.1 กรัม จะกินอาหารประมาณ 80 มก./วัน สำหรับไส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ จะกินอาหารโดยเฉลี่ย 120 – 150 มก./น้ าหนักตัว 1 กรัม/วัน
  4. การใส่ขยะอินทรีย์ให้กับไส้เดือนดินในบ่อเลี้ยง
    นำขยะอินทรีย์จากแหล่งมาคัดแยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย เช่น ถุงพลาสติกต่างๆ ออกสำหรับเศษผักหรือวัสดุอื่นๆที่มีขนาดใหญ่ ให้นำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ สำหรับอาหารที่เผ็ด เปรี้ยวไส้เดือนดินจะไม่ชอบ ให้นำมากรองน้ำออกแล้วหมักทิ้งไว้ก่อน 1 – 2 คืน ให้บูด แล้วจึงนำมาเทใสบ่อเลี้ยงแล้วเกลี่ยให้ทั่วผิวหน้าบ่อเลี้ยงไม่ควรใส่ขยะในบ่อหนาเกินไป เนื่องจาก จะทำเกิดความร้อนมาก ทำให้ไส้เดือนดินหนีลึกลงไปในดินที่มีอุณหภูมิเย็นกว่า ทำให้อัตราการกินขยะลดลง อีกทั้งการใส่ปริมาณขยะมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นบริเวณโรงเรือน ชักนำแมลงวัน แมลงสาบ หนเข้ามาในโรงเรือนได้
  5. การคัดแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
    รูปแบบการเลี้ยงที่มีจำนวนน้อย สามารถทำการคัดแยกด้วยการใช้มือจับแยกไส้เดือนดินออกมา หรือ งดให้ขยะประมาณ 2 สัปดาห์ ให้มูลแห้งหมาดๆ แล้วจึงใช้ตะแกรงขนาดเล็กร่อนแยกไส้เดือนดินออกไป แต่สำหรับ การผลิตมูลไส้เดือนดินในรูปแบบโรงเรือนที่มีปุ๋ยหมักปริมาณมากต้องทำการคัดแยก โดยใช้เครื่องคัดแยกหรือใช้ตะแกรงขนาดใหญ่ โดยก่อนทำการคัดแยกไส้เดือนดินต้องงดใส่ขยะประมาณ 2 สัปดาห์ ตัวไส้เดือนที่คัดแยกได้น าไปปล่อยในบ่อเลี้ยงไว้ใช้กำจัดขยะต่อไปสำหรับมูลไส้เดือนที่แยกได้ ให้นำมาผึ่งในร่ม เพื่อลดความชื้น ให้เหลือ 30 – 35 % โดยการเกลี่ยมูลไส้เดือนดินลงบนแผ่นพลาสติกที่รองอยู่ ช่วงนี้จะสามารถเทปุ๋ยออกแล้วนำไส้เดือนดินตัวเล็ก ที่ติดอยู่กับแผ่นพลาสติกดังกล่าวมาใส่ในบ่อเลี้ยงต่อไป มูลที่แยกเอาไส้เดือนดินตัวเล็กออกแล้ว สามารถนำไปทดสอบความชื้นและทำการบรรจุ หรือเก็บไว้ใช้ได้
การใช้ปุ๋ย
การใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนในการปลูกช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

ประโยชน์และความสำคัญของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

  1. ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุแก่ดิน
  2. เพิ่มช่องว่างในดินให้การระบายน้ำและอากาศดียิ่งขึ้น
  3. ส่งเสริมความพรุนของผิวหน้าดิน ลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน
  4. ช่วยให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายตัวในดินได้กว้าง
  5. เพิ่มความสามารถในการดูดซับน้ำในดิน ทำให้ดินชุ่มชื้น
  6. เพิ่มธาตุอาหารพืช ให้แก่ดินโดยตรง และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์และจุลินทรีย์ดิน
  7. เพิ่มศักยภาพการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน
  8. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีปริมาณมากเกินไป เช่น อลูมินัม และแมงกานีส เนื่องจาก ปุ๋ยหมักจะช่วยดูดยึดธาตุทั้ง 2 ไว้บางส่วน
  9. ช่วยเพิ่มความต้านทานในการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรด – เบส ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่เร็วจนเกินไป จนเป็นอันตรายต่อพืช
  10. ช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะท าให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถขับสารพวกอัลคาลอยด์และกรดไขมันที่เป็นพิษต่อไส้เดือนฝอย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.oae.go.th
ภาพประกอบ : http://blog.arda.or.th, https://hs.pbru.ac.th

Add a Comment