กระเทียม
กระเทียม จัดเป็นพืชสมุนไพรไทยและเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีคุณประโยชน์มาก กระเทียมใช้ประกอบอาหารเพื่อปรุงรสชาติ ไม่ว่าจะเป็นผัด ทอด แกง ยํา ต้มยํา น้ำพริกต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบ เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 12 วิตามินซี ธาตุชีลีเนียม ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี (โดยกระเทียมถือว่าเป็นพืชที่มีธาตุซีลิเนียมมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ) นอกจากนี้ยังมี สารอะดิโนซีน ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย กระเทียมมีสรรพคุณช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย บรรเทาและรักษาอาการของโรคต่างๆได้ เช่น ลดความดันโลหิตและป้องกันโรคหัวใจ ลดระดับไขมันและคอลเลสเตอรอล ลดน้ําตาลในเลือด ช่วยขับลม ป้องกันโรคมะเร็งเนื่องจากมีสารซีลีเนียมที่ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับเสมหะ ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยบํารุงผิวให้มี สุขภาพดี ดูสะอาด และช่วยฆ่าเชื้อรา จําพวกกลาก เกลื้อน รวมถึงเชื้อราตามเล็บและหนังศีรษะ ประโยชน์สรรพคุณของกระเทียม ที่สําคัญ มีดังนี้
- มีสารที่ช่วยต้านมะเร็งได้
- สามารถป้องกันโรคหัวใจ
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- รักษาสิว
- ป้องกันและรักษาโรคหวัด
- บรรเทาอาการอักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน
- ถอนเสี้ยน (เสี้ยนที่ตําเท้าหรือมือเรา สามารถกําจัดได้ง่ายๆ ด้วยการแปะกระเทียมฝานบางๆแล้ว พันทับด้วยผ้าพันแผล วิธีนี้เป็นวิธีธรรมชาติที่ใช้กันมานาน และได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่ได้ผลจริง
- กําจัดกลิ่นเท้า
- ไล่ยุงและแมลงสัตว์กัดต่อย
- รักษาโรคส่าไข้ (คล้ายๆกับอาการโรคหัด)
กระเทียม จึงเป็นพืชที่มีคุณค่า มีประโยชนืต่อร่างกาย สามารถนํามาถนอมอาหารไว้รับประทานได้

กระเทียมดอง
การทำดองกระเทียม เป็นการถนอมอาหารที่ดีวิธีหนึ่งในการรักษาคุณค่าของอาหาร เพื่อเก็บไว้รับประทานได้นานๆ ทั้งนี้สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ไข่เจียวกระเทียมดอง ผัดวุ้นเส้นกระเทียมดอง ยำชนิดต่างๆ ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำซุป น้ำก๋วยเตี๋ยว น้ำจิ้ม หรือนำมารับประทานกับข้าวต้ม เป็นต้น วิธีในการทำกระเทียมดองสามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย
ส่วนผสมในการทำกระเทียมดอง
- หัวกระเทียม 1 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
- น้ำส้มสายชูกลั่น 5% 1 ขวด
- น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง
- น้ำผสมปูนใสพอประมาณ
การเตรียมอุปกรณ์ในการทำ
- ขวดโหล
- หม้อเคลือบ
- ถ้วยตวง
- ช้อนตวง
- ผ้าขาวบาง
1. การดองกระเทียมแห้ง
- การทํากระเทียมดองต้องคัดเลือกกระเทียมที่แก่จัดโดยการบีบหัวกระเทียมแห้งหากมีใบติดมาด้วยให้สังเกตว่าใบจะต้องมีสีเหลืองเข้มและมีหัวเล็กๆติดมาตามก้านใบกระเทียมที่แก่จัดเมื่อนํามาดองจะได้กระเทียมดองที่กรอบไม่ยุ่ยแล้วนํากระเทียมที่คัดเลือกแล้วมาแกะกลีบ ปอกเปลือกและล้างให้สะอาดนําไปแช่ในน้ำปูนใสทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วตักขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- เตรียมน้ำดองโดยการนําน้ำตาลทราย น้ำส้มสายชู ผสมกันต้มให้เดือด ปรุงรสให้กลมกล่อม แล้วนํามากรองด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ให้เย็น
- นํากระเทียมที่วางไว้จนสะเด็ดน้ำปูนใส ใส่ลงในขวดที่เตรียมไว้ (ขวดและฝาต้องผ่านการทําควาสะอาดและฆ่าเชื้อโรค)
- เทน้ำที่ผสมและต้มลงไปในขวดให้ท่วมกระเทียมและอย่าให้กระเทียมลอยปิดฝาขวดให้แน่นเก็บไว้ประมาณ 1 เดือน รับประทานได้
2. การดองกระเทียมสด
- นํากระเทียมไปแช่น้ำประมาณ 2 ชั่วโมงจนเปลือกพอง แล้วสงขึ้นแช่น้ำเย็นอีก 1 คืนปอกเปลือกออก
- นํากระเทียมที่ปอกเปลือกมาผึ่งไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ
- ต้มน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ ให้เดือดกรองฝุ่นด้วยผ้าขาวบางแล้วปล่อยไว้ให้เย็น
- นํากระเทียมที่ผึ่งไว้ลงแช่ในน้ำดองที่เตรียมไว้ โดยกดกระเทียมให้จมอย่าให้กระเทียมลอยขึ้นมาอีก 2 วันรินน้ำที่แช่กระเทียมออกเติมน้ำตาลลงไป ประมาณครึ่งถ้วยตั้งไฟให้เดือดและทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่กระเทียมที่นําออกมาแช่ลงอีกครั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน จึงจะใช้ได้ทําเช่นนี้ความเผ็ดของกระเทียมหายไป

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.culture.go.th
https://www.youtube.com