กุหลาบพุกาม
ชื่ออื่นๆ : กุหลาบพุกาม, กุหลาบเทียม
ต้นกำเนิด : โคลัมเบีย
ชื่อสามัญ : กุหลาบพุกาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pereskia bleo (Kunth) DC.
ชื่อวงศ์ : CACTACEAE
ลักษณะของกุหลาบพุกาม
ต้น ไม้พุ่ม สูง 2-8 ม. โคนต้นมีเนื้อไม้ กิ่งก้านอวบน้ำและมีหนามเป็นกระจุก
ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-7 ซม. ยาว 6-22 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบค่อนข้างหนา ตามซอกใบมีหนาม 1-30 อัน ก้านใบยาว 0.5-3.0 ซม.
ดอก ดอกเดี่ยวหรือมักออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอกตามปลายกิ่ง ทยอยบาน ก้านดอกยาว 0.5-1.0 ซม. ปลายก้านเชื่อมติดกับฐานรองดอกรูปกรวยเหลี่ยม ขอบด้านบนและฐานรองดอกมีกลีบประดับเล็กๆ 2-5 กลีบ กลีบดอกสีส้ม 10-15 กลีบ รูปไข่กลับ เรียงซ้อนกันหลายชั้น ชั้นนอกใหญ่กว่าชั้นใน เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 ซม. เรียงเป็นชั้นซ้อนสลับกัน มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแฉก 5-6 แฉก
ผล คล้ายฝักบัวหรือรูปกรวยเหลี่ยม ด้านบนแบน กว้าง 4-5 ซม. ผลแก่สีเหลือง เมล็ดเล็กสีดำ รูปไข่กลับหรือรูปไต

การขยายพันธุ์ของกุหลาบพุกาม
ใช้กิ่ง/ลำต้น/นำกิ่งมาปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่กุหลาบพุกามต้องการ
ประโยชน์ของกุหลาบพุกาม
ปลูกประดับบ้าน
สรรพคุณทางยาของกุหลาบพุกาม
–
คุณค่าทางโภชนาการของกุหลาบพุกาม
การแปรรูปของกุหลาบพุกาม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10667&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com