ชมพู่น้ำ
ชื่ออื่นๆ : ชมพู่น้ำดอกไม้, มะชมพู่, มะน้ำหอม, ชมพู่น้ำ, ฝรั่งน้ำ, มะห้าคอกลอก
ต้นกำเนิด : เอเชีย
ชื่อสามัญ : Rose Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium jambos (L.) Alston
ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE
ลักษณะของชมพู่น้ำ
ต้น ชมพู่น้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5 – 10 เมตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน แคบ แผ่นใบรูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 8 มม.
ดอก ดอกสีแดงแกมม่วง ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบ ดอกช่อ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือยอด มีช่อละ 3 ดอก ฐานของดอกสีชมพู กลีบดอกแยก สีขาว ร่วงง่าย
ผล กลม หรือรูปไข่ สีเขียว ถึงสีม่วง ปลายผลเป็นกลีบ ซึ่งพัฒนามาจากกลีบเลี้ยง ยาวประมาณ 2 ซม. เนื้อผลสีขาวนวลหรือสีเขียวอ่อน กินได้ รสหวานหอม มีกลิ่นหอม จะเริ่มออกผลในช่วงปลายฤดูหนาว (ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน)
ปลูกง่าย โตไวให้ผลได้ใน 2 ปี ลักษณะใบจะเรียวยาวคล้ายใบมะม่วงขนาดเล็ก ผลคล้ายลูกจัน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมคล้ายดอกนมแมว ถ้าปลูกไว้ห่างจากบ้านประมาณ 2 เมตร จะได้กลิ่นหอม ผลมีน้ำหนักประมาณ 80 – 100 กรัม ความหวาน 16 องศาบริกซ์ ( หวานกว่าชมพู่ทุกชนิด ) เนื้ออ่อนนุ่มชวนรับประทาน

การขยายพันธุ์ของชมพู่น้ำ
ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง ชมพู่น้ำมีการกระจายพันธุ์ตามริมห้วย ในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ทั่วทุกภาคของประเทศ
การขยายพันธุ์
1.การเพาะเมล็ด
2.การตอนกิ่ง
วิธีการปลูก :
การขยายพันธุ์ชมพู่น้ำดอกไม้ ทำได้ 2 วิธี คือ ใช้เมล็ดและกิ่งตอน การปลูก ขุดดินให้ลึก – กว้าง 50 เซนติเมตร แล้วนำเมล็ดหรือกิ่งตอนของชมพู่ลงปลูก เกลี่ยดินกลบ แล้วนำใบตองปิดโคนต้นเพื่อช่วยเก็บความชื้น รดน้ำ 2 วัน /ครั้ง เมื่อปลูกแล้ว ( ถ้าเป็นกิ่งตอน ) ให้ทำไม้ปักยึดผูกกับต้น เพื่อป้องกันการโค่นล้ม โดนลม ป้องกันไม้ให้เฉา ควรปลูกใกล้คลอง เพราะชมพู่น้ำดอกไม้เป็น ไม้ผลที่ชอบน้ำ ชมพู่น้ำดอกไม้จะเริ่มออกผลปลายฤดูหนาว ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน การดูแลรักษาง่ายไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง เพียงแต่ห่อผลด้วยถุงพลาสติก เพื่อป้องกันนก กระรอกและแมลงรบกวนเท่านั้น

ธาตุอาหารหลักที่ชมพู่น้ำต้องการ
ประโยชน์ของชมพู่น้ำ
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ผลเป็นผลสด ใช้รับประทานได้ ผลคล้ายลูกจันสีเหลือง ภายในผลกลวง มีกลิ่นหอมคล้ายกับดอกนมแมว
- ผลเป็นอาหารสัตว์ป่า
สรรพคุณทางยาของชมพู่น้ำ
ผล ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้ ใบ ช่วยลดไข้ แก้ตาอักเสบ ใช้ล้างแผลสด เปลือกต้นแก้เบาหวาน แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง เมล็ดแก้โรคบิด
คุณค่าทางโภชนาการของชมพู่น้ำ
การแปรรูปของชมพู่น้ำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11194&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com