กวางดูถูก
ชื่ออื่นๆ : กวางดูถูก, ดอกตาย, หลอกตาย (ปัตตานี) อุโชมาติ (มลายู-ปัตตานี)
ต้นกำเนิด : พบมากทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
ชื่อสามัญ : กวางดูถูก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naravelia laurifolia Wall. ex Hook.f. et Th.
ชื่อวงศ์ : RANUNCULACEAE
ลักษณะของกวางดูถูก
ต้น เป็นไม้เลื้อยยาว 2-6 เมตร ลำต้นแข็ง
ใบ ใบเป็นใบประกอบ เรียงตรงข้าม มีใบย่อยคู่เดียว มีรยางค์เป็นสายยาว ปลายแยกเป็นสามเส้น อยู่ระหว่างคู่ใบย่อย ก้านใบประกอบยาว 4-6 ซม. ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนสอบมน ปลายแหลม ขอบเรียบหรือหยักตื้นๆ แผ่นใบหนา สีเขียวเข้ม เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ
ดอก สีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกสมบูรณ์เพศ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-5 มม. ยาว 6-9 มม. ก้านดอกยาว 1-25 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมม่วง เกสรผู้ไม่สมบูรณ์ ลักษณะคล้ายกลีบดอกมี 6-15 อัน กว้าง 0.1 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. เกสรผู้ที่สมบูรณ์ 15-23 อัน เกสรเมียแยกกัน 11-16 อัน
ผล แข็งรูปกระสวย มีขนสีขาวคลุมประปราย ปลายขนมีเส้นยาวคล้ายแส้ บิดโค้ง

การขยายพันธุ์ของกวางดูถูก
การเพาะเมล็ด
ขึ้นในป่าโปร่ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 10-300 ม.
ธาตุอาหารหลักที่กวางดูถูก ต้องการ
ประโยชน์ของกวางดูถูก
–
สรรพคุณทางยาของกวางดูถูก
- ใบ รสจืด แก้คัน
- เถา รสจืดหวาน แก้พยาธิ แก้ประดง แก้ริดสีดวงจมูก แก้ไข้ แก้ฝีภายนอกและฝีภายใน
- ราก รสจืด แก้ไข้ แก้โลหิตตีขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการของกวางดูถูก
การแปรรูปของกวางดูถูก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10466&SystemType=BEDO
www.flickr.com