ดอกรัก
ชื่ออื่นๆ : รัก ดอกรัก (กลาง) ปอเถื่อน ป่าเถื่อน (เหนือ)
ต้นกำเนิด : เขตเอเชียกลาง
ชื่อสามัญ : Crown Flower, Giant Indian Milkweed, Gigantic
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotropis gigantea(Linn.) R.Br.ex Ait.
ชื่อวงศ์ : ACSLEPIADACEAE
ลักษณะของดอกรัก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5 – 3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6 – 8 ซ.ม. ยาว 10 – 14 ซ.ม. เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอก มีสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สันเกสรตัวผู้ 5 อัน ออกดอก ตลอดปี
ผล เป็นฝักคู่ กว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 6 – 8 ซม.เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง

การขยายพันธุ์ของดอกรัก
ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด, ปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ดอกรักต้องการ
ประโยชน์ของดอกรัก
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือก และ ดอก
ดอกนำมาใช้ทำดอกไม้ประดิษฐ์ ในพิธีงานแต่งงานของคนไทยภาคกลาง นอกจากจะมีการใช้ดอกรักนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยสวมให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวแล้วนั้น ยังมีการใช้ใบของต้นรัก นำมารองกันขันใส่เงินสินสอดและขันไส่เงินทุนให้แต่คู่แต่งงานอีกด้วย
สรรพคุณทางยาของดอกรัก
ยาง มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ระคายเคือง แก้ปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ แก้กลากเกลื้อน ทำให้แท้ง เปลือก ขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้อาเจียน ดอก ช่วยย่อย เจริญอาหาร แก้ไอ แก้หวัด แก้หืด เปลือกราก แก้บิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์ทำให้อาเจียน ใช้แทน Ipecac ได้
คุณค่าทางโภชนาการของดอกรัก
การแปรรูปของดอกรัก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11235&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
ขอบคุณๆ