ผักกาดขาว สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด

ผักกาดขาว

       ชื่ออื่นๆ : แปะฉ่าย, ผักกาดขาวปลี, แปะฉ่ายลุ้ย, ผักกาดลุ้ย

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Chinese cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica pekinensis L.

ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ลักษณะของผักกาดขาว

ต้น เป็นพืชสองปี แต่มีการปลูกแบบพืชปีเดียว ลำต้นสูง 20-50 เซนติเมตร เมื่อออกดอกสูงได้ถึง 1.5 เมตร มีระบบรากแก้ว มีรากแขนงแผ่กระจายจำนวนมาก ขณะมีการเติบโตใบเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกแบบดอกกุหลาบ ใบที่อยู่ภายในอัดเรียงกันเป็นปลีทรงกรวยหรือทรงค่อนข้างกลม โดยมีการเรียงใบแบบสลับออกมาจากข้อของลำต้น

ใบ ใบยาว 20-90 เซนติเมตร กว้าง 15-35 เซนติเมตร รูปร่างของใบเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาของการเจริญเติบโต ใบที่อยู่รอบนอกของปลีมีรูปไข่ผอมรี ก้านใบเป็นปีกแผ่ยื่นออกไปทางด้านข้าง ใบสีเขียวเข้ม ใบที่เรียงซ้อนกันในปลีมีสีเขียวปนขาว แผ่นใบกว้างเกือบกลม ใบที่รองรับช่อดอกเป็นรูปหอกมีขนาดเล็ก ก้านใบแผ่กว้าง ช่อดอกมีการเจริญออกไปทางปลายช่อเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด ประกอบด้วยช่อแขนงที่เป็นช่อดอกแบบกระจะจำนวนมาก ช่อดอกยาว 20-60 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 เซนติเมตร

ดอก ดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบยาว 0.5 เซนติเมตรสีเขียวปนเหลือง กลีบดอกสีเหลืองสดจำนวน 4 กลีบ ยาว 1 เซนติเมตร กว้าง 0.5 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน สั้น 2 อัน ยาว 4 อัน เกสรเพศเมีย 2 อัน มีรังไข่เชื่อมติดกัน

ผล ผลแตกแบบผักกาด ยาว 7 เซนติเมตร กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ผิวเรียบ ส่วนปลายผลอ้วนสั้น มี 10-25 เมล็ด เมล็ดกลมจนถึงรูปไข่ สีเทาดำจนถึงสีน้ำตาลแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร

พันธ์ผักกาดขาว แบ่งได้ 3 พวกใหญ่ๆ คือ

  1. พวกปลียาว ปลีมีลักษณะทรงสูง รูปไข่
  2. พวกปลีกลม ปลีมีลักษณะทรงสั้นและอ้วนกลมกว่าปลียาว จะมีอายุสั้นกว่า น้ำหนักเบากว่าพวกปลียาว
  3.  พวกปลีหลวม หรือ ไม่มีปลี ส่วนมาเป็นผักพื้นเมืองของเอเชี สามารถปลูกได้แม้อากาศไม่หนาว จะมีอายุ 45 วันหลังจากหว่านเมล็ด
ผักกาดขาว
ผักกาดขาว ใบที่อยู่ภายในอัดเรียงกันเป็นปลีค่อนข้างกลม
ผักกาดขาว
ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงมีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำหุ้มอยู่

การขยายพันธุ์ของผักกาดขาว

ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ดเพาะกล้า

โดยส่วนใหญ่นิยมทำ 2 วิธีคือ

  1. การเพาะปลูกโดยการหว่านเมล็ดไว้ในแปลง ก่อนนำกล้าปลูก วิธีนี้ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธ์ และยังทำให้ต้นกล้าไม่ตายอีกด้วย
  2. การใช้เมล็ดปลูกลงเเปลงเลย โดยหว่านเมล็ดระยะห่าง วิธีนี้ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธ์ เมื่อต้นกล้าโตพอประมาณ ต้องดึงต้นกล้าที่แน่นเกินไปออก เนื่องจากแน่นเกินไป

ช่วงเพาะกล้าควรมี การฉีดพ่นธาตุอาหารเสริม และโบรอนด้วย การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน เพื่อกำจัดโรค แมลงและวัชพืช ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรเป็นดินที่ร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 6.0-6.5 การเตรียมดิน ควรขุดให้หน้าดินิลึกการระบายน้ำ และอากาศดี ควรให้น้ำอย่างพอเพียง และสม่ำเสมอ และได้รัีบแสงแดดอย่างเต็มที่ ตลอดทั้งวัน ในช่วงฤดูฝน อาจใช้การหยอดเมล็ดได้ หากเป็นฤดูร้อน ควรเพาะในถาดหลุม อายุกล้าไม่ควรเกิน 21 วัน

ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดขาวต้องการ

ข้อควรระวัง

ช่วงการเจริญเติบโต ระวังธาตุโบรอน ซึ่งจะแสดงอาการ กาบใบแตกเป็นรอยดำ หากเปียกจะเกิดโรคเน่าเละ และจำหน่ายไม่ได้ โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน หลังจากย้ายปลูก
ระวังโรคใบจุด ที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. ที่สามารถระบาด ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ใบเป็นจุดเล็กๆ ไม่สามารถจำหน่ายได้ ระวังการแทงช่อดอก ในช่วงอากาศเย็นโดยเฉพาะต้นกล้าที่ได้รับความเย็นจัดนานๆ เมื่อนำไปปลูกจะทำให้ แทงช่อดอก ได้ง่ายไม่เข้าหัว ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม ในช่วงฤดูร้อน ควรให้น้ำโดยการปล่อยเข้าแปลง หากขาดน้ำ พืชจะชะงักการเจริญเติบโต มีผลต่อการเข้าปลี

ประโยชน์ของผักกาดขาว

สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด เช่น ใส่ซุป ผัด ทำแกงจืด ต้มจับฉ่าย จิ้มน้ำพริก และยังสามารถ นำมาแปรรูปเป็นผักตากแห้ง ทำกิมจิ (ผักดองเกาหลี)  ผักกาดดอง  หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร

หัวผักกาด
หัวผักกาด ใบเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกแบบดอกกุหลาบ

สรรพคุณทางยาของผักกาดขาว

สามารถช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้พิษสุรา

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว

ในหัวผักกาดขาวสดส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

  • น้ำ 91.7 กรัม
  • โปรตีน 0.6 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
  • ความร้อน 250,000 แคลอรี่
  • เส้นใยหยาบ 0.8 กรัม
  • ash 0.8 กรัม
  • คาโรทีน (Carotene) 0.02 มก.
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.02 มก.
  • วิตามินบีสอง 0.04 มก.
  • กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มก.
  • วิตามินซี 30 มก.
  • แคลเซียม 49 มก.
  • ฟอสฟอรัส 34 มก.
  • เหล็ก 0.5 มก.
  • โปแตสเซียม 196 มก.
  • ซิลิกอน 0.024 มก.
  • แมงกานีส 1.26 มก.
  • สังกะสี 3.21 มก.
  • โมลิบดีนัม 0.125 มก.
  • โบรอน 2.07 มก.
  • ทองแดง 0.21 มก.
  • นอกจากนี้ยังมีกลูโคส (Glucose) ซูโครส (Sucross) Fructose Coumaric acid,Ferulic acid, Gentisic acid, Phenylpyruvic acid และกรดอะมิโนหลายชนิด

เมล็ด มีไขมัน เช่น: -Erucic acid, Linolenic acid และ Glycerol sinapate เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยที่สำคัญคือ Methyl mercaptan นอกจากนี้ยังมีสารที่ยับยั้งแบคทีเรีย คือ Raphanin

การแปรรูปของผักกาดขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11139&SystemType=BEDO
https:// adeq.or.th
https://www.flickr.com

7 Comments

Add a Comment