ต้นชงโคหรือต้นเสี้ยวดอกแดง ที่นิยมเรียกกันในภาคเหนือ

ชงโค

ชื่ออื่นๆ : ชงโค, เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้), เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ), เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) กะเฮอ, สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ตอนใต้ของประเทศจีนรวมถึงฮ่องกงและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purder

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia purpurea

ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะของชงโค

ต้นชงโค หรือต้นเสี้ยวดอกแดงที่นิยมเรียกกันในภาคเหนือ เป็นพืชที่นิยมปลูกไว้ตามบ้านและตามสถานที่ทั่วไป เพราะให้ช่อดอกสวยงาม แม้จะให้ดอกสีม่วงสวยละม้ายกับดอกกล้วยไม้แต่กลับเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นที่มาจากประเทศอินเดียแถบเทือกเขาหิมาลัยที่สูงถึง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลและประเทศจีน กระจายพันธุ์ไปทั่วทุกภูมิภาค แม้กระทั่งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็สามารถพบได้ในฮาวายและแคลิฟอร์เนีย และเป็นไม้มงคลตามความเชื่อของทางฮินดูที่เชื่อว่าเป็นไม้จากสวรรค์และเป็นต้นไม้ของเทพอันศักดิ์สิทธิ์ที่นิยมปลูกไว้ในสถานที่สำคัญทางศาสนา และสำหรับบ้านเรือนใดที่ปลูกไว้จะเหมือนมีเทพมาคุ้มครองป้องกันภัย ทำให้ผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนนั้นมีความเจริญและความสุข เป็นพืชที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติ ในป่าละเมาะและพบมากที่สุดในภาคเหนือ ในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ เกิดตามเนินเขา หุบเขาและตามลำธาร

ต้นชงโค เป็นไม้ต้นมีความสูงของลำต้นประมาณ 6-15 เมตร ลำต้นตั้งตรงและเรียวกิ่งก้านคด แตกกิ่งก้านโดยรอบลำต้น กิ่งอ่อนจะมีขนอ่อนปกคลุมแต่เมื่อกิ่งเริ่มแก่จะไม่มีขน ผิวเรียบ มีใบเดี่ยวรูปทรงกลม มีแฉกกลางใบคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ ผิวใบด้านบนเรียบบาง ด้านล่างของใบมีขนอ่อนผลิดอกแตกช่อกระจะมีความยาวตั้งแต่ 7-19 เซนติเมตร ก้านช่อดอกไม่ยาวมากนัก ดอกมีกลีบสีม่วง จำนวน 5 กลีบ มีกลิ่นหอมบางๆ ให้ผลเป็นฝักยาวแบน สีเขียว แต่หากแก่เต็มที่จะกลายเป็นดำและบิดตัวเป็นลอน ข้างในมีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ ต้นชงโคมีอายุยืนยาวตั้งแต่ 40-150 ปี

ดอกชงโค
ดอกชงโค ดอกสีชมพูอมม่วง มีกลิ่นหอมอ่อน

การขยายพันธุ์ของชงโค

การเพาะเมล็ด

วิธีที่นิยมที่สุดคือการเพาะจากเมล็ดที่ได้จากฝักแห้งที่มีความสะดวกและง่ายดาย โดยการปลูกให้นำเมล็ดไปแช่น้ำเพื่อกระตุ้นการงอกของรากไว้ 1 คืนก่อนนำไปปลูกในถุงเพาะชำ เน้นการเพาะชำในที่ร่ม เพราะช่วงต้นอ่อนจะไม่ชอบแสงจัดนัก ใช้เวลาไม่ถึง 10 วันต้นกล้าจะเริ่มโต และอาจจะใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือนต้นชงโคจะเจริญเติบโตตั้งตรง

ธาตุอาหารหลักที่ชงโคต้องการ

ประโยชน์ของชงโค

  • ใบ ดอกตูมและฝักอ่อนสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้
  • เปลือกไม้ชงโค ยังเป็นแหล่งของแทนนินที่นำมาใช้สำหรับย้อมสีได้
  • ไม้จากลำต้นเป็นไม้เนื้อดี มีความแข็งและทนทาน นำมาใช้ในงานไม้และใช้เป็นเชื้อเพลิง
  • ต้นกล้วยไม้ยังปลูกเป็นต้นไม้ประดับ
ชงโค
ชงโค ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกบานทั้งวัน

สรรพคุณทางยาของชงโค

แทบทุกส่วนของต้นชงโคสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เริ่มจากสรรพคุณทางยา เช่น รากใช้เป็นยาขับลม ดอกใช้เป็นยาระบาย ส่วนเปลือกรากและดอกเมื่อผสมกับน้ำข้าวสามารถใช้ประคบผิวหนังภายนอกที่เกิดแผลพุพองจากน้ำร้อนลวก

คุณค่าทางโภชนาการของชงโค

การแปรรูปของชงโค

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11222&SystemType=BEDO
http://blog.arda.or.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment