ต้นเน่าใน
ชื่ออื่นๆ : แก้มอ้น (อุดรธานี) ไคร้มด, ห้าขาว (เชียงใหม่) ตานขโมย (ชุมพร) เต่ช่ออีโพ้ (กาญจนบุรี) บอระเพ็ด (จันทบุรี) ซึกุนัย (ลาหู่)
ต้นกำเนิด : พบที่ประเทศศรีลังกา ตอนใต้ของจีน เมียนม่าห์ ประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบแล้งและ ป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง 500-1,350 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ilex umbellulata Loes.
ชื่อวงศ์ : AQUIFOLIACEAE
ลักษณะของเน่าใน
ต้น ไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ความยาวรอบต้น 10-40 เซนติเมตร
ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 4.5-10 เซนติเมตร

ดอก ดอก สีขาวครีมแกมเขียว ออกเป็นช่อ พร้อมใบอ่อน ช่อดอกย่อยรูปกลม มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ขนาด 1-3 มม. ก้านช่อดอกยาวถึง 2 ซม. กลีบรองดอกสีเขียวขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก จำนวน 5 กลีบ ออกดอกช่วงเดือน ธันวาคม-มกราคม

ผล ผลแบบผลสด รูปทรงกลม ขนาดผ่านศูนย์กลาง 5 มม. เมื่อสุกสีแดงดำ ผิวเป็นมัน ผลแก่ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม

การขยายพันธุ์ของเน่าใน
การใช้เมล็ด
เป็นพืชที่หายาก
ธาตุอาหารหลักที่เน่าในต้องการ
ประโยชน์ของเน่าใน
- นำใบไปรับประทานคล้ายใบพลู เพราะใบพืชสกุล Ilex L. มีสารคาเฟอีนที่ช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง
- ผล เป็นอาหารนก นกจะมากินแล้วคนจะรอมายิงนก (ลาหู่)
สรรพคุณทางยาของเน่าใน
เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มรวมกับเปล้าหลวง นำไปอาบสำหรับคนที่มีร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักตัวน้อย
คุณค่าทางโภชนาการของเน่าใน
การแปรรูปของเน่าใน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.doa.go.th, www.biodiversity.forest.go.th
เน่าในเป็นพืชหายาก
เน่าใน นำใบไปรับประทานคล้ายใบพลู