ถั่วเขียว
ชื่ออื่นๆ : ถั่วเขียว (ทั่วไป) ถั่วจิม (เชียงใหม่) ถั่วดำเม็ดเม็ดเล็ก, ถั่วทอง (ภาคกลาง) ถั่วมุม (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Mung bean, Mungo, Mongo bean, Green bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna radiate L.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ลักษณะของถั่วเขียว
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน และจะมีอายุนานเพียงไม่เกิน 1 ปี ลำต้นจะมีขนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกกิ่งก้านสาขา
ใบ : เป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ก้านใบยาว มีใบย่อยอยู่สามใบอยู่บนก้าน มีลักษณะทรงกลมรี โคนใบมน ปลายใบเรียว มีก้านใบย่อยสั้น มีมือเกาะออกที่ปลายใบ มีขนอ่อนๆ มีสีเขียว ใช้ยอดอ่อน นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู
ดอก : ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ กลีบดอกมีสองชั้น กลีบดอกมีสีเหลือง สีขาว สีม่วง ตามสายพันธุ์ ก้านช่อดอกยาว ดอกออกตามซอกใบ
ผล : มีผลเป็นฝัก มีลักษณะทรงกลมยาวรี โค้งงอเล็กน้อย มีขนอ่อนๆ ฝักมีสีเขียวอ่อน ฝักแก่มีสีเขียวเข้ม ฝักจะนูนขึ้น มีเมล็ดโตเรียงกันอยู่ข้างใน ฝักแก่จัดมีสีเหลือง สีดำ
เมล็ด : เมล็ด มีเมล็ดเรียงกันอยู่ ภายในฝักแก่จัด จะมีประมาณ 5-15 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะทรงกลมเล็กๆ เปลือกเมล็ดผิวเรียบลื่น มีสีเขียว สีเขียวเข้ม ตามสายพันธุ์ มีรอยแผลเป็นตาสีขาว เมล็ดข้างในแข็งมีสีเหลือง เมล็ดมีรสชาติหวานมัน นำมาเพาะเป็นถั่วงอก นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู

การขยายพันธุ์ของถั่วเขียว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ถั่วเขียวต้องการ
ประโยชน์ของถั่วเขียว
- ถั่วเขียวเป็นพรรณไม้ที่ให้ประโยชน์มาก ทั้งทางด้านอาหารและในด้านที่ใช้เป็นยาถั่วเขียวนี้เมื่อนำมาเพาะ เป็นถั่วงอก จะให้วิตามินเอ บี และซีสูงมาก สำหรับในด้านที่ใช้เป็นยานั้น ถึงแม้จะพบว่าใช้ได้ผลในการรักษาโรคต่าง ๆ นั้น แต่ก็ไม่มีผลการทดลองที่ยืนยันว่ารักษาได้ผลที่แน่นอน
- แป้งที่ทำจากถั่วเขียว แก้ร้อนใน ฝี และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- เปลือกหุ้มเมล็ด (สีเขียว) มีสรรพคุณรักษาโรคตาต่างๆ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ ถั่วงอกจากถั่วเขียว หรือดอกต้นถั่วเขียว แก้อาการเมาเหล้า
- ใบถั่วเขียวตำให้แหลกคั้นน้ำ เติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย ทำให้อุ่น แก้กินน้ำ แก้อาการอาเจียนและท้องเดิน

สรรพคุณทางยาของถั่วเขียว
สรรพคุณ ถั่วเขียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาฝี
– เมล็ด นำมาต้มแล้วกินเป็นยาขับปัสสาวะ สำหรับคนที่เป็นโรคเหน็บชา ส่วนถั่วเขียวที่ดิบ หรือที่ต้มสุกแล้วใช้ตำพอก เป็นยารักษาภายนอกช่วยบ่มหนองให้ฝีสุก และยังใช้ในโรคอื่น ๆ ได้เช่นการคลอดลูกยาก โรคท้องมาน และท้องร่วง
– เปลือก (สีเขียว) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ
– ถั่วงอก แก้พิษเหล้า
ตำรับยา
1. คางทูม (เป็นใหม่) ต้มถั่วเขียว 70 กรัม จนใกล้สุก ใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป 2 หัว ต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำ วันละ 2 ครั้ง อาการคางทูมก็จะหาย
2. อาเจียน (จากการดื่มเหล้า) ให้ดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ
3. ตาพร่า ตาอักเสบ ต้มถั่วเขียวกินครั้งละ 15-20 กรัม เป็นประจำ
สารเคมีที่พบ ในเปลือก (สีเขียว) ของถั่วเขียว
มีโปรตีน 79.0 %
มีกรด Amino หลายชนิดคือ Aspartic acid 94.42 ม.ก./กรัม
Thrconine 24.98 ม.ก./กรัม
Serine 41.73 ม.ก./กรัม
Glutamic acid 145.77 ม.ก./กรัม
Proline 29.84 ม.ก./กรัม
Glycine 27.92 ม.ก./กรัม
Alanine 32.18 ม.ก./กรัม
Valine 40.05 ม.ก./กรัม
Cystine 3.78 ม.ก./กรัม
Methionine 10.02 ม.ก./กรัม
Iso-leucine 33.40 ม.ก./กรัม
Leucine 67.02 ม.ก./กรัม
Tyrosine 26.42 ม.ก./กรัม
Phenylalanine 51.04 ม.ก./กรัม
Lysine 52.44 ม.ก./กรัม
Histidine 19.26 ม.ก./กรัม
Arginine 50.24 ม.ก./กรัม
Tryptophan 9.02 ม.ก./กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว
ถั่วเขียว 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
โปรตีน 23.4 กรัม
ไขมัน 1.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 60.3 กรัม
ใยอาหาร 4.3 กรัม
การแปรรูปของถั่วเขียว
การแปรรูป การเพาะถั่วงอก อุตสาหกรรมวุ้นเส้น แป้งถั่วเขียว เป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11097&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
3 Comments