ถั่วเขียว เป็นพรรณไม้ที่ให้ประโยชน์มาก ทั้งทางด้านอาหารและสรรพคุณมากมาย

ถั่วเขียว

ชื่ออื่นๆ : ถั่วเขียว (ทั่วไป) ถั่วจิม (เชียงใหม่) ถั่วดำเม็ดเม็ดเล็ก, ถั่วทอง (ภาคกลาง) ถั่วมุม (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Mung bean, Mungo, Mongo bean, Green bean

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna radiate L.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะของถั่วเขียว

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน และจะมีอายุนานเพียงไม่เกิน 1 ปี ลำต้นจะมีขนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกกิ่งก้านสาขา

ใบ : เป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ก้านใบยาว มีใบย่อยอยู่สามใบอยู่บนก้าน มีลักษณะทรงกลมรี โคนใบมน ปลายใบเรียว มีก้านใบย่อยสั้น มีมือเกาะออกที่ปลายใบ มีขนอ่อนๆ มีสีเขียว ใช้ยอดอ่อน นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู

ดอก : ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีลักษณะคล้ายผีเสื้อ กลีบดอกมีสองชั้น กลีบดอกมีสีเหลือง สีขาว สีม่วง ตามสายพันธุ์ ก้านช่อดอกยาว ดอกออกตามซอกใบ

ผล : มีผลเป็นฝัก มีลักษณะทรงกลมยาวรี โค้งงอเล็กน้อย มีขนอ่อนๆ ฝักมีสีเขียวอ่อน ฝักแก่มีสีเขียวเข้ม ฝักจะนูนขึ้น มีเมล็ดโตเรียงกันอยู่ข้างใน ฝักแก่จัดมีสีเหลือง สีดำ

เมล็ด : เมล็ด มีเมล็ดเรียงกันอยู่ ภายในฝักแก่จัด จะมีประมาณ 5-15 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดมีลักษณะทรงกลมเล็กๆ เปลือกเมล็ดผิวเรียบลื่น มีสีเขียว สีเขียวเข้ม ตามสายพันธุ์ มีรอยแผลเป็นตาสีขาว เมล็ดข้างในแข็งมีสีเหลือง เมล็ดมีรสชาติหวานมัน นำมาเพาะเป็นถั่วงอก นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู

ต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว ลำต้นจะมีขนเป็นสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของถั่วเขียว

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถั่วเขียวต้องการ

ประโยชน์ของถั่วเขียว

  • ถั่วเขียวเป็นพรรณไม้ที่ให้ประโยชน์มาก ทั้งทางด้านอาหารและในด้านที่ใช้เป็นยาถั่วเขียวนี้เมื่อนำมาเพาะ เป็นถั่วงอก จะให้วิตามินเอ บี และซีสูงมาก สำหรับในด้านที่ใช้เป็นยานั้น ถึงแม้จะพบว่าใช้ได้ผลในการรักษาโรคต่าง ๆ นั้น แต่ก็ไม่มีผลการทดลองที่ยืนยันว่ารักษาได้ผลที่แน่นอน
  • แป้งที่ทำจากถั่วเขียว แก้ร้อนใน ฝี และแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • เปลือกหุ้มเมล็ด (สีเขียว) มีสรรพคุณรักษาโรคตาต่างๆ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ ถั่วงอกจากถั่วเขียว หรือดอกต้นถั่วเขียว แก้อาการเมาเหล้า
  • ใบถั่วเขียวตำให้แหลกคั้นน้ำ เติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย ทำให้อุ่น แก้กินน้ำ แก้อาการอาเจียนและท้องเดิน
ดอกถั่วเขียว
ดอกถั่วเขียว ดอกสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของถั่วเขียว

สรรพคุณ ถั่วเขียว แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาฝี
 – เมล็ด นำมาต้มแล้วกินเป็นยาขับปัสสาวะ สำหรับคนที่เป็นโรคเหน็บชา ส่วนถั่วเขียวที่ดิบ หรือที่ต้มสุกแล้วใช้ตำพอก เป็นยารักษาภายนอกช่วยบ่มหนองให้ฝีสุก และยังใช้ในโรคอื่น ๆ ได้เช่นการคลอดลูกยาก โรคท้องมาน และท้องร่วง
 – เปลือก (สีเขียว) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง รักษาตาอักเสบ
– ถั่วงอก แก้พิษเหล้า

ตำรับยา
1. คางทูม (เป็นใหม่) ต้มถั่วเขียว 70 กรัม จนใกล้สุก ใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป 2 หัว ต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำ วันละ 2 ครั้ง อาการคางทูมก็จะหาย
2. อาเจียน (จากการดื่มเหล้า) ให้ดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ
3. ตาพร่า ตาอักเสบ ต้มถั่วเขียวกินครั้งละ 15-20 กรัม เป็นประจำ

สารเคมีที่พบ ในเปลือก (สีเขียว) ของถั่วเขียว
มีโปรตีน 79.0 %
มีกรด Amino หลายชนิดคือ Aspartic acid 94.42 ม.ก./กรัม
Thrconine 24.98 ม.ก./กรัม
Serine 41.73 ม.ก./กรัม
Glutamic acid 145.77 ม.ก./กรัม
Proline 29.84 ม.ก./กรัม
Glycine 27.92 ม.ก./กรัม
Alanine 32.18 ม.ก./กรัม
Valine 40.05 ม.ก./กรัม
Cystine 3.78 ม.ก./กรัม
Methionine 10.02 ม.ก./กรัม
Iso-leucine 33.40 ม.ก./กรัม
Leucine 67.02 ม.ก./กรัม
Tyrosine 26.42 ม.ก./กรัม
Phenylalanine 51.04 ม.ก./กรัม
Lysine 52.44 ม.ก./กรัม
Histidine 19.26 ม.ก./กรัม
Arginine 50.24 ม.ก./กรัม
Tryptophan 9.02 ม.ก./กรัม

เมล็ดถั่วเขียว
เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดกลม เปลือกเมล็ดผิวเรียบลื่น มีสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

ถั่วเขียว 100 กรัมให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
โปรตีน 23.4 กรัม
ไขมัน
 1.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต
 60.3 กรัม
ใยอาหาร 4.3 กรัม

การแปรรูปของถั่วเขียว

การแปรรูป การเพาะถั่วงอก อุตสาหกรรมวุ้นเส้น แป้งถั่วเขียว เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11097&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment