ทองหลางป่า เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน ใช้ทำของเล่นสำหรับเด็ก ดอกให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า

ทองหลางป่า

ชื่ออื่นๆ : ตองหลาง (แพร่), ทองบก (น่าน), ทองมีดขูด (ภาคเหนือ), ทองหลาง (ภาคกลาง), เก๊าตอง (คนเมือง), ไม้ตองหนาม, ไม้ตองน้ำ (ไทใหญ่)  ยาเซาะห่ะ (อาข่า)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Indian Coral Tree, December Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina subumbrans Merr.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)

ลักษณะของทองหลางป่า

ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10-20 ม. ลำต้นมีหนามแหลมทั่วไป ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบรูปหัวใจ โคนใบตัดหรือมน ปลายใบแหลม กว้าง 5-10 ซม. ยาว 8-14 ซม. เส้นใบด้านล่างเด่นชัด ที่โคนก้านใบจะมีต่อม 1 คู่ ดอก สีแดงสด ออกเป็นช่อเดี่ยว ดอกลักษณะคล้ายดอกถั่ว ดอกล่างจะบานก่อน กลีบรองดอกเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนแผ่โค้งรูปเรือ เกสรผู้ 10 อันอยู่ด้านล่าง ผล เป็นฝักแบน โคนฝักลีบ ส่วนปลายฝักจะใหญ่กว่า เมื่อแก่ฝักจะแตกอ้า ออกตามทางยาวจากส่วนปลาย

ต้นทองหลางป่า
ต้นทองหลางป่า ไม้ยืนต้น ลำต้นมีหนามแหลม

การขยายพันธุ์ของทองหลางป่า

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ทองหลางป่าต้องการ

ประโยชน์ของทองหลางป่า

เนื้อไม้สีขาว ค่อนข้างอ่อน ใช้ทำของเล่นสำหรับเด็ก ดอกให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
ดอกทองหลางป่า
ดอกทองหลางป่า ดอกสีแดงสด คล้ายดอกถั่ว

สรรพคุณทางยาของทองหลางป่า

ใบ บดทาแก้โรคบวมตามข้อ

คุณค่าทางโภชนาการของทองหลางป่า

การแปรรูปของทองหลางป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11606&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment