นางพญาเสือโคร่ง ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อชมความงามของดอก ฉายา “ซากูระเมืองไทย”

นางพญาเสือโคร่ง

ชื่ออื่นๆ : วีวรรณ, ชมพูภูพิงค์ (เหนือ) เส่คาแว่, เส่แผ่, แส่ลาแหล (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) ซากูระดอย (เชียงใหม่) และได้รับฉายาว่า “ซากูระเมืองไทย”

ต้นกำเนิด : เอเชียทางตอนใต้

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides D.Don

ชื่อวงศ์ : Prunus

ลักษณะของนางพญาเสือโคร่ง

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร

ต้นนางพญาเสือโคร่ง
ต้นนางพญาเสือโคร่ง ไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก

ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบใบหยัก ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย

ใบนางพญาเสือโคร่ง
ใบนางพญาเสือโคร่ง ใบรูปรีปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยัก

ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก

ดอกนางพญาเสือโคร่ง
ดอกนางพญาเสือโคร่ง ดอกสีชมพู กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ

ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง

ผลนางพญาเสือโคร่ง
ผลนางพญาเสือโคร่ง ผลกลม เมื่อสุกจะมีสีแดง

การขยายพันธุ์ของนางพญาเสือโคร่ง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่นางพญาเสือโคร่งต้องการ

ประโยชน์ของนางพญาเสือโคร่ง

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อชมความงามของดอก
  • ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว

สรรพคุณทางยาของนางพญาเสือโคร่ง

  • เปลือกต้น เป็นยาแก้ไอ ลดน้ำมูก แก้อาการคัดจมูก
  • ฝัก มีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาระบายพิษไข้ ให้ถ่ายเสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของนางพญาเสือโคร่ง

การแปรรูปของนางพญาเสือโคร่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11454&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment