บักถั่วฝักยาว
ชื่ออื่นๆ : ถั่วขาว, ถั่วนา (ภาคกลาง), ถั่วดอก, ถั่วปี และ ถั่วหลา (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ถั่วฝักยาว Yard long bean, Asparagus bean
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna sinensis
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของบักถั่วฝักยาว
ต้น เป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ
ใบ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน
ผล ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด

การขยายพันธุ์ของบักถั่วฝักยาว
ใช้เมล็ด/ปลูกด้วยการคืนค้างไม้ไผ่เพื่อให้ต้นเลื้อยเกาะ เพื่อสะดวกต่อการเก็บผลผลิต
ธาตุอาหารหลักที่บักถั่วฝักยาวต้องการ
ประโยชน์ของบักถั่วฝักยาว
ฝักของถั่วฝักยาวใช้รับประทานทั้งดิบและสุก เหมาะที่จะรับประทานเมื่อยังอ่อน นำไปประกอบอาหาร อาทิเช่น ผัด แกง นึ่ง ลวก หรือนำไปเป็นส่วนผสมของเมนูอาหาร ฝักสดรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก

สรรพคุณทางยาของบักถั่วฝักยาว
- ใบ เมล็ด ราก มีสรรพคุณทางยา
- ใบ ใช้ต้มน้ำกินรักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง
- ฝัก เปลือกฝักตำพอกบริเวณที่บวม ปวดเอว แผลที่เต้านม และเป็นยาระงับปวด
- เมล็ด ใช้ได้ทั้งแห้งและสด ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงม้าม ไต ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
- ราก นำมาตำพอกหรือบดละเอียด รักษาโรคหนองใน รักษาบิด บำรุงม้าม
คุณค่าทางโภชนาการของบักถั่วฝักยาว
การแปรรูปของบักถั่วฝักยาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11424&SystemType=BEDO
www.flickr.com