ความเป็นมาของมังคุด

มังคุดเป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะเป็นบริเวณประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวโลกตะวันตกตั้งแต่ปี พ.ศ 2174 จากแหล่งกำเนิดนี้พบการแพร่กระจายไปยังบริเวณรอบๆ แต่ก็ยังคงอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบๆ แหล่งกำเนิดเดิม ดังนั้นจึงพบการกระจายอยู่บริเวณคาบสมุทรมาเลย์ ประเทศพม่า ไทย เขมร เวียดนามและหมู่เกาะซุนดาร์ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการศึกษาถึงแหล่งกำเนิดที่แน่ชัดโดยสันนิษฐานว่าคาบสมุทรมาเลเซียน่าจะเป็นแหล่ง กำเนิดเพราะพบว่า สายพันธุ์ที่เป็นพ่อและแม่ของต้นมังคุดอยู่ในบริเวณนี้ นอกจากนี้มีการสันนิษฐานว่ามังคุดเริ่มมีการปลูกเป็นพืชพื้นบ้านครั้งแรกในประเทศไทยหรือประเทศพม่า (Yaacob,1995) และจากคุณสมบัติพิเศษของมังคุดที่เมล็ดไม่ได้เกิดจากการผสมข้ามเนื่องจากละอองเกสรเป็นหมัน ดังนั้นมังคุดจึงไม่มีการกลายพันธุ์ด้วย
ประวัติมังคุดในประเทศไทยยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่ามังคุดถูกนำมาปลูกเมื่อไหร่ แต่คาดว่าจะมีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฝั่งธนบุรีแถบที่ตั้งโรงพยาบาลศิริราช ณ ปัจจุบันเดิมเรียกว่าวังสวนมังคุด นอกจากนี้ยังพบหลักฐานว่าสมัยเริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ มังคุดน่าจะเป็นผลไม้ที่มีการปลูกกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฏในจดหมายเหตุของฑูตชาวลังกา ที่มาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา เมื่อประมาณ 212 ปี มานี้ “เมื่อคณะฑูตมาถึงธนบุรี ข้าราชการหลายแผนกได้นำทุเรียน มังคุดมะพร้าว และอื่นๆ ให้คณะฑูต แล้วจึงเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา”
สำหรับแหล่งที่ค้นพบการปลูกมังคุด พบว่ามีการปลูกมากในแถบภาคใต้ของประเทศไทย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์พื้นที่ปลูกประมาณ 61 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดในประเทศ สำหรับภาคใต้พบว่ามีการปลูกในทุกจังหวัดของภาคใต้ จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา นราธิวาสและจังหวัดสุราษฏร์ธานี ตามลำดับ ซี่งจะเห็นได้ทั้งการปลูกที่เป็นแบบสวนเดี่ยวและสวนผสมนิยมปลูกเพื่อรับประทานในครัวเรือนหรือปลูกเพื่อการค้า และเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ทอดยาว ประกอบกับมภู เขาสูง อยู่กลางพื้นที่ทำให้ช่วงออกดอกและการเก็บเกี่ยวมังคุดแตกต่างกัน คือแหล่งปลูกบริเวณฝั่งอันดามัน ได้แก่ จังหวัดระนอง ตรังภูเก็ต และจังหวัดพังงา มังคุดจะออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ซึ่งจะมีการออกดอกก่อนแหล่งปลู กทางฝั่งอ่าวไทย คือประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน แหล่งปลูกทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทร การออกดอกจะไล่ จากพื้นที่ตอนบนลงมา คือการออกดอกจะเริ่มจากจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาปัตตานี และนราธิวาส ตามลำดับทำให้ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตของภาคใต้ตอนบนเร็วกว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิต ของภาคใต้ตอนล่าง และการเก็บเกี่ยวผลผลิต ของภาคใต้จะล่าช้ากว่าแหล่งปลูกในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคมนอกจากนี้ ในพื้นที่ปลูกบางแหล่งของภาคใต้ยัง สามารถให้ผลผลิต นอกฤดูกาลได้ เช่นจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น อำเภอพรหมคีรี อำเภอท่าศาลา อำาเภอเมือง และอำเภอลานสกา เพราะอิทธิพลของสภาพภูมิประเทศที่มีภูเขาสูงทำให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงเดือนกรกฎาคมถึ งเดือนสิงหาคม ซึ่งส่งผลให้มังคุดออกดอกได้ในช่วงปลายปีได้ ซึ่งนับว่าเป็นผลดี เพราะผลผลิตที่ออกนอกฤดูกาลจะมีราคาสูงกว่าผลผลิตในฤดูกาลประมาณ 4 ถึง 5 เท่าด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มังคุด
มังคุด มีชื่อสามัญว่า mangosteen จัดอยู่ในวงศ์ (family) Gittiferae ซึ่งมีด้วยกัน 35 สกุล (genera) ใน 35 สกุลดังกล่าวมีเพียง 8 สกุลเท่านั้นที่สามารถให้ผลผลิตที่รับประทานได้ สกุลที่เก่าแกที่สุดและใหญ่ที่สุดคือสกุลGarcinia ซึ่งมักจะเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบมังคุดจัดอยู่ในสกุลดังกล่าวมีชื่อชนิด (species) ว่า mangostana L. มังคุดจึงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana L. มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แหลมมลายู ไทย พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและอินเดีย พืชตระกูลเดียวกับมังคุดที่รู้จักกันดี ได้แก่ มะพูด (Garcinia dulcis Kurz) ใช้กินผลสดส้มแขกหรื อที่ทางภาคใต้เรียกส้มควาย (Garcinia atroviridis Griff) ชาวบ้านใช้รสเปรี้ยวของผลส้มแขกมาใช้ในแกงส้ม แกงเทโพ ต้มเนื้อ ต้มปลา ต้มส้ม ฯลฯ ชะมวงหรือที่คนใต้เรียก กะมวง ส้มมวง (Garcinia cowa Roxb) มะดัน (Garcinia schomburgkiana Pierre) ส้มแขก (Garcinia atroviridis) และ พะวา (Garcinia celebica L.)
ลักษณะทั่วไป
มังคุดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ชอบสภาพอากาศร้อนชื้นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยูในช่วง 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ดินควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 และที่สำคัญ ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดในช่วงฤดูแล้ง มังคุดจะให้ผลผลิตประมาณปีที่ 7 หลังจากมีการปลูก แต่ผลผลิตต่อต้น ในระยะแรกจะต่ำช่วงที่ให้ผลผลิตดีจะอยู่ประมาณ 13 ปี ขึ้นไปโดยเฉลี่ย 60 กิโลกรัมต่อต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 80 กรัมต่อผล) มังคุดเป็นไม้ผลที่มีระบบรากที่หาอาหารค่อนข้างลึก ประมาณ 90 ถึง 120 เซนติเมตรจากผิวดิน ดังนั้นจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกค่อนข้างนาน โดยต้นมังคุดที่สมบูรณ์ใบยอดมีอายุระหว่าง 9 ถึง 12 สัปดาห์เมื่อผ่านช่วงแล้งติดต่อกัน 21 ถึง 30 วัน และมีการกระตุ้นน้ำถูกวิธีมังคุดจะออกดอกช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตาดอกถึงดอกบาน) ประมาณ 30 วัน ช่วงพัฒนาของผล (ดอกบานถึงเก็บเกี่ยว) ประมาณ 11 ถึง 12 สัปดาห์ ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือเริ่มมีสายเลือดได้ 1 ถึง 2 วัน ผลมังคุดที่มีสีม่วงแดง จะเก็บรักษาที่อุณหภูมิ10 ถึง 13 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 90 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์สามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ ฤดูกาลผลผลิตของภาคใต้อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
- ราก มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีระบบรากเป็นรากแก้ว เกิดจากเมล็ดจะหยั่งลึกลงไปในดินเป็นแนวดิ่งต่อจากลำต้น รากแก้วจะชอนไชไปในดินได้ลึก จะงอและขดได้ง่าย เมื่อเลี้ยงไว้ในวัสดุเพาะชำเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ย้ายปลูกลงดิน แต่เมื่อตัดส่วนที่ขดงอออกจะมีรากใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่ได้โดยแตกออกเป็นหลายราก แล้วเจริญคู่กันไปกับรากเดิมดูเหมือนกับรากแก้วจะมีบ้างเพียง 1-2 รากที่เป็นรากเล็กและสั้นคล้ายรากฝอย มังคุดนับว่ามีการพัฒนาของระบบรากที่จะเจริญแผ่ไปในทางแนวราบในพื้นดินได้น้อยกว่าไม้ผลอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมังคุดมี ความสามารถพิเศษที่จะสร้างรากแขนงให้เจริญออกจากโคนต้นชิดกับพื้นดินได้ในต้นที่ปลูกจนโตและเริ่มเป็นพุ่มแล้ว รากแขนงที่เกิดใหม่นี้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นรากที่ค่อนข้างอวบสีขาวอมเหลืองจะเจริญแผ่ออกจากโคน–ต้นและค่อยๆ แทงลึกลงไปในดินเพื่อช่วยยึดลำต้นให้แข็งแรงไม่โค่นล้มทั้งยังช่วยหาอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสมดุลกับส่วนทรงพุ่มที่เจริญขึ้น
รากมังคุด เป็นระบบรากแก้ว รากสีขาวอมเหลือง - ลำต้น มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ต้นโตเต็มที่จะสูงประมาณ 10 – 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น25-30เซนติเมตร เปลือกสีดำ มียางเหนียวข้นสีเหลืองอมเขียวทรงพุ่มเป็นแบบปีระมิด (Pyramidal crown หรือ Conical shape) ลำต้นเรียบ กิ่งก้านแตกเป็นระเบียบใบหนาทำมุมฉากกับลำต้น
ลำต้นมังคุด มีเปลือกสีดำ มียางเหนียวข้นสีเหลือง - ใบ ใบมังคุดเป็นใบเดี่ยว (Simple leaf) เกิดแบบตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือแบบ ternate ก้านใบสั้น ใบเป็นแบบ Ovate-elliptic-oblong ฐานใบเป็นแบบ acute, obtuse หรือ rounded ปลายใบแบบ obtuseและ acuminate ขอบใบเรียบ ใบหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้ม หรือเขียวแกม–เหลือง และเป็นมัน ส่วนใต้ใบเป็นสีเขียวแกมเหลืองไม่เป็นมัน ผิวใบเรียบ ยาว 12-23 เซนติเมตร กว้าง 4.5 – 10 เซ็นติเมตร เส้นใบแบบpinnate เส้นกลางใบเห็นชัดเจน กลมนูนทางด้านหลังใบและเป็นสันทางด้านใต้ใบเส้น ใบออกจากเส้นกลางใบแล้วค่อยๆ ลู่เข้าหาขอบใบ มีประมาณ 35 – 50 คู่ ก้านใบสั้น มองเห็นเป็นชั้นๆ ยาวประมาณ 1.5- 2 เซ็นติเมตร มีตาข้าง (axillary bud) อยู่ที่โคนก้านใบทุกใบ ส่วนตายอด (terminal bud) อยู่ที่โคนก้านใบคู่สุดท้าย
ใบมังคุด ขอบใบเรียบ ใบหนา ด้านหลังใบสีเขียวเข้ม - ดอก เป็น unisexual-dioeciousหรือpolygamous อย่างไรก็ตาม Baker (1911) ได้รายงานว่า พบดอกตัวเมีย (female flower) เฉพาะในเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ดอกตัวผู้ (male flower) เกิดที่ปลายกิ่งเป็นกลุ่มดอก มีประมาณ 3-9 ดอก ก้านดอกค่อนข้างยาว กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นรูปถ้วย และมีขนาดกว้าง มี 4 อัน กลีบ ดอกมี 4 กลีบ อวบหนา แบบ ovate ด้านในสีแดงแกมเหลือง ด้านนอกสี ค่อนข้างเขียว และมีประสีแดง เกสรตัวผู้มีมากมายอยู่บนกลีบดอกด้านล่างติดกับส่วนโคนของรังไข่ (rudimentary ovary) ก้านเกสรตัวผู้สั้น อับละอองเกสรแบบ Ovoid – oblong และโค้งกลับส่วนrudimentary ovary หนา ลักษณะ obconial และยาวกว่าอับละอองเกสรเล็กน้อย ดอก– ตัวเมีย (femaleflower) หรือดอกสมบูรณ์เพศ (hermaphrodite flewer) มักเกิดที่ปลายกิ่ง ลักษณะของกลีบเลี้ยง และกลีบดอกคล้ายคลึงกับดอกตัวผู้เกิดเป็นดอกเดี่ยว (Solitary) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 6.2 เซ็นติเมตร ก้านดอกสั้นหนาเป็นรูปเหลี่ยม มีความยาว 1.8 – 2 เซนติเมตร หนา 0.7 – 0.9 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง (sepal) มี 4 กลีบ ซ้อนกัน 2 ชั้น (biserite) ชั้นใน 1 คู่ หุ้มปิดไว้และถูกหุ้มด้วยชั้นนอกอีก 1 คู่ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร สีเขียวแกมเหลืองเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม มน ชั้นในมีขนาดเล็กกว่า และมีีขอบกลีบ สี แดง กลีบดอก (petal) มี 4 กลีบ รูป obovate มีขนาดกว้างมาก กลมมน อวบหนา สี เขียวแกมเหลือง ขอบกลีบสีแดงหรือเกือบจะเป็นสีแดงตลอดทั้งกลีบ ขนาดประมาณ 2.5 – 3 เซนติเมตร เกสรตัวผู้เป็นหมัน (staminode) อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาจมีมากหรือน้อยกว่า 1-3 อัน อาจยึดติดหรือไม่ยึดกับส่วนโคนของรังไข่ ยาว 0.5 – 0.6 เซ็นติเมตร อับละอองเกสรมีขนาดเล็ก และเป็นหมันรังไข่ ไม่มีก้าน (sessile) แอ่งเกสรตัวเมีย (stigma) แบ่งเป็นแฉกประมาณ 4-8 แฉก เท่ากับจำนวนช่องในรังไข่
ดอกมังคุด กลีบ ดอกมี 4 กลีบ ด้านในสีแดงแกมเหลือง - ผล เป็นแบบ berry เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 3.5 – 7 เซ็นติเมตร หรือมากกว่า เมื่อสุกจะมีสีม่วงเข้มหรือม่วงแกมน้ำตาล เปลือกหนาประมาณ0.8-1 เซ็ตติเมตร มีรสฝาดและมียางสีเหลือง ผลจัดเป็นแบบ aril fruit เนื้อเกิดจาก integument ภายในผลแบ่งเป็น 4-8 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดภายในหุ้มด้วยเนื้อสีขาวใสอ่อนนุ่มคล้ายวุ้นมีเส้น Vain สีชมพูติดอยู่เนื้อมีสีน้ำตาลประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ประกอบด้วย Sacharase, dextrose และ levulose มีกรดและสารอื่นๆ ประกอบทำให้มีกลิ่น และรสน่ารับประทาน การเรียงตัวของกลีบคล้ายกับการเรียงตัวของกลีบส้ม ในแต่ละผลจะมีเมล็ดที่เจริญสมบูรณ์ 1-3 เมล็ดเท่านั้นที่เหลือมักลีบไป ค่าเฉลี่ยเมล็ดที่สมบูรณ์ ของมังคุดประมาณ 1.6 เมล็ด สำหรับผลมน้ำหนัก 54.5-79.5 กรัมหรือมากกว่า ผลหนึ่งๆ มีเนื้อประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ มังคุดต้นหนึ่งๆ จะออกผลอย่างน้อย 100 ผล และมากกว่า 500-600 ผล ในประเทศศรีลังกา มังคุดสุกปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนมกราคม ครั้งหลังในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ในตรินิแดด ให้ผลในราวเดือนกรกฎาคม –ตุลาคม
ผลมังคุด ผลอ่อนสีเหลืองอมเขียว ผิวผลแข็ง - เมล็ด รูปร่างคล้ายเปลือกหอย มี 2 ฝา เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลบางใส ผิวเมล็ดขรุขระ มีร่องเริ่มจาก Hilum มาจนสุดเมล็ด แตกได้ง่าย มีอายุการเก็บสั้น และความแข็งแรงของเมล็ดที่ Hume กล่าวว่า การกระจายของมังคุดไปยังถิ่นต่างๆ ถูกจำกัด เนื่องจากอายุของเมล็ดสั้นมาก เมล็ดที่อยู่ในผลจะมีอายุได้ 3-5 สัปดาห์ แต่ถ้าอยู่นอกผลโดยไม่เก็บไว้ในที่ชื้นจะมีอายุได้เพียง 2-3 วัน เท่านั้น ที่จริงแล้วเมล็ดมังคุดไม่ใช่ เมล็ดที่แท้จริงเป็นเพียงส่วนที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเพศเมีย (female tissue) เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีทั้ง embryo และ cotyledous เชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียวแต่อาจมีการผันแปรบ้าง เช่น พันธุ์ที่ให้ผลสุกช้ากว่าทั่วไปเป็นรายงานจากพม่า และอีกพันธุ์หนึ่งมีกรดมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นรายงานของชวา แต่การผันแปรเช่นนี้มีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะเมล็ดที่ใช้ในการขยายพันธุ์นั้นเป็นส่วนที่เจริญ โดยไม่มีการผสมและเป็น poly embryony ต้นกล้าที่ได้ ซึ่งไม่ได้มาจาก Zygote แต่เป็น nucellar seedling ซึ่งตรงตามพันธุ์ของต้นแม่ ความแตกต่างของผลผลิตที่เกิดขึ้นเกิดจากสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาที่ มีความแตกต่างกัน
เมล็ดมังคุด เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลบางใส
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.doa.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com, FB จอมพลฟาร์มนครศรีธรรมราช
ความเป็นมาของมังคุด ประวัติของมังคุด ลักษณะของมังคุด