ผักชีฝรั่ง
ชื่ออื่นๆ : ผักชีดอย (เหนือ,เชียงใหม่) มะและเด๊าะ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) หอมป้อมกุลา (เหนือ) ผักหอมเป (อีสาน) ผักชีใบเลื่อย
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก
ชื่อสามัญ : Stink Weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foeidum L.
ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE
ลักษณะของผักชีฝรั่ง
ต้น ผักชีฝรั่ง เป็นพืชวงศ์เดียวกับผักชี ลำต้นเตี้ยติดดิน
ใบ ใบออกรอบๆ โคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบรูปหอก ยาวรี โคนใบสอบลง ยาวประมาณ 10-15 เซ็นติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย และที่ปลายจักนั้น เป็นหนามอ่อนๆ เมื่อถึงเวลาออกดอก จะมีก้านชูสูงขึ้นไป ประมาณ 10-20 เซ็นติเมตร แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย
ดอก ออกดอกเป็นกระจุกกลม ขาวอมเขียว ตรงโคนช่อดอกมีใบประดับรูปดาว
เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมทั้งต้นและใบ (ล้มลุก ออกเป็นกอ ลำต้นสั้น ใบสีเขียวยาวหยัก คล้ายฟันเลื่อย

การขยายพันธุ์ของผักชีฝรั่ง
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักชีฝรั่งต้องการ
ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง
- ผักชีฝรั่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย (ใบ)
- ผักชีฝรั่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
- ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
- ช่วยดับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดีและทำให้ลมหายใจสดชื่นขึ้น(ใบ)
- ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร (ใบ)
- ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร (ใบ)
- ช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างเป็นปกติ (ลำต้น)
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และเล็บให้แข็งแรง (ลำต้น)
- ช่วยทดแทนการเสียธาตุเหล็กสำหรับหญิงให้นมบุตร (ใบ)
- ชาวล้านนาใช้ใบเป็นผักสดกินกับอาหารจำพวกลาบ เช่น ลาบปลา ลาบหมู ลาบวัว ลาบควาย ลาบไก่ และใช้หั่นซอย โรยในอาหารต่างๆ เช่น แกงขนุน ยำจิ๊นไก่ แกงโฮะ ในจังหวัดน่าน ใช้ผักชีฝรั่งใส่อาหารจำพวกตำ ยำผลไม้ต่างๆ เช่น ตำมะละกอ ตำส้มโอ ตำกระท้อน
สรรพคุณทางยาของผักชีฝรั่ง
- ช่วยรักษาสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี (ใบทำเป็นชาชงดื่มวันละ 3 ถ้วย)
- .ช่วยกระตุ้นร่างกาย (ใบ, น้ำต้มจากราก)
-
ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
-
ช่วยขับเหงื่อ (น้ำต้มจากราก)
-
ช่วยแก้ไข้ (ใบ, น้ำต้มจากราก)
-
ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
-
ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
-
ช่วยระบายท้อง ด้วยการใช้น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบนำมาดื่ม (ใบ)
-
ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร (ลำต้น)
-
ใช้เป็นยาถ่าย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
-
ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ใบ)
-
ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)
-
ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำต้มจากราก)
-
ช่วยรักษาผดผื่นคันตามผิวหนัง
-
ช่วยฆ่าเชื้อโรค (ลำต้น)
-
ช่วยแก้พิษงู ด้วยการใช้ลำต้นนำมาตำแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด (ลำต้น)
-
ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)
-
ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
-
มีส่วนช่วยทำให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น (ใบ)
-
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาตำผสมกับน้ำมันงาแล้วนำไปหมกไฟให้สุก จึงค่อยนำมาประคบแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)
-
ช่วยแก้บวม ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
- ผักชีฝรั่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด เสริมสร้างความต้องการทางเพศ (น้ำต้มจากทั้งต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง
ผักชีฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- เส้นใย 1.7 กรัม
- แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
- เหล็ก 2.9 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 5,250 IU.
- วิตามินบี1 0.31 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.21 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.7 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 38 มิลลิกรัม
การแปรรูปของผักชีฝรั่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11074&SystemType=BEDO
www.lannainfo.library.cmu.ac.th
www.bannongphi.ac.th
www.flickr.com
One Comment