ผักบุ้งทุ่ง
ชื่ออื่นๆ : ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Swamp cabbge, Swamp cabbage white stem, Water morning glory
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forsk.
ชื่อวงศ์ : Convolvulaceae
ลักษณะของผักบุ้งทุ่ง
ผักบุ้งไทยเป็นไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือในดินที่มีความชื้นแฉะมากๆ ลำต้นกลวงสีเขียวเพราะต้องใช้ในการสังเคราะห์แสงร่วมกับใบ และมีข้อปล้องชัดเจนและมีรากงอกออกมาตามข้อปล้องต่างๆ (ที่ลำต้นกลวงเพื่อให้ลอยน้ำได้) เมล็ดพันธุ์มีสีดำลักษณะกลม มีใบเดี่ยวสีเขียวคล้ายหัวลูกศรเรียวยาวและฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจยาว 3-15 เซนติเมตร กว้าง 3-9 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นช่อดอกลักษณะทรงระฆังต่างจากผักบุ้งจีนที่เป็นทรงกรวย โดยออกตามซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีม่วงแดง และสีชมพูกลีบม่วง

การขยายพันธุ์ของผักบุ้งทุ่ง
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด ลำต้นแก่มีรากติด
ธาตุอาหารหลักที่ผักบุ้งทุ่งต้องการ
ประโยชน์ของผักบุ้งทุ่ง
- ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น เป็นผักที่มีฤทธิ์เย็น การใช้เป็นผักที่สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด
- สามารถรับประทานเป็นผักสด หรือนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นผักลวก จิ้มน้ำพริก ลวดราดกะทิสด แกงคั่วส้ม แกงส้ม ผัดน้ำมัน หรือแกงชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาดองเป็นผักบุ้งดอง กินกับขนมจีนน้ำยา หรือน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของผักบุ้งทุ่ง
- ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
- ต้นสด ใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
- ทั้งต้น ใช้แก้ปวดหัว อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ
- ใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดตำ คั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- ราก ใช้แก้ไอเรื้อรัง และแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม
คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งทุ่ง
ในผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วย
- เส้นใย 101 กรัม
- แคลเซียม 3 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
- เหล็ก 3 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 11,447 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 14 มิลลิกรัม และมีสารต้านฮีสตามีน
การแปรรูปของผักบุ้งทุ่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10775&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
ผักปุ้งนี้ทนมาก