ผักลืมชู้
ชื่ออื่นๆ : ก้ามกุ้ง แก้มช่อน (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : –
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : –
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของผักลืมชู้
ต้น ไม้พุ่มสูงประมาณ 5-7 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะใบมนรี ปลายแหลม ผิวเรียบคล้ายใบชะมวง หน้าและหลังใบลื่น
ดอก ออกตามโคนใบ เป็นกระจุกสีขาว
ผล ติดลูกตลอดผลกลม เกิดตรงซอกก้านใบติดลำต้นผลเขียวเนื้อขาว เป็นพวงมี 4-5 เมล็ด ผลสุกสีเหลืองเป็น 3 กลีบ เมื่อสุกแตกได้

การขยายพันธุ์ของผักลืมชู้
ใช้เมล็ด, การปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ผักลืมชู้ต้องการ
ประโยชน์ของผักลืมชู้
ผักลืมชู้เป็นผักพื้นบ้านแถบภาคใต้ นิยมนำมาแกงและบริโภคโดยใช้ใบอ่อน ยอด รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาแกงคั่วใส่กบ เป็นผักที่มีรสชาติมัน ฝาดเล็กน้อย
ส่วนที่มาของชื่อนั้นมีตำนานเล่าขานกันว่า วันหนึ่งมีชายนายหนึ่งได้นัดหญิงสาวที่ไม่ใช่ภรรยาของตัวเองไว้ ก่อนจะถึงเวลานัดเกิดหิวขึ้นมาจึงรับประทานแกงที่ใส่ผักนี้เข้าไปเพราะความหิว ด้วยความเอร็ดอร่อยจึงกินเพลินจนลืมอิ่มและลืมเวลานัดกับชู้ เป็นผักที่เคี้ยวแล้วจะมีความมัน จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผักลืมชู้”
สรรพคุณทางยาของผักลืมชู้
กิ่ง (ลำต้น) เป็นยาสมานแผลลำไส้ ต้มหรือแช่น้ำใช้ส่วนราก
คุณค่าทางโภชนาการของผักลืมชู้
การแปรรูปของผักลืมชู้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9947&SystemType=BEDO
https//reportnews.doae.go.th
https://www.farmkaset.org