พยับหมอก ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกบานสีฟ้าอมม่วงอ่อน ออกดอกตลอดปี

พยับหมอก

ชื่ออื่นๆ : เจตมูลเพลิงฝรั่ง

ต้นกำเนิด : แอฟริกาใต้

ชื่อสามัญ : Cape leadwort,  White plumbago

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumbago auriculata Lam.

ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE

ลักษณะของพยับหมอก

ต้น  ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.5-1.5 ม.ทรงพุ่มแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง รูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางสีเขียวสด ผิวใบด้านล่างมีขนสากระคายมือ

ดอก  ออกเป็นช่อกระจะเชิงลด กระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมีขนต่อม โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานสีฟ้าอมม่วงอ่อน กลีบดอกบอบบาง ออกดอกตลอดปี แต่ออกดกในช่วงเดือน พ.ย.-ม.ค.

ผล  ผลรูปขอบขนานแห้งแล้วแตกได้เป็น 5 ร่อง

ต้นพยับหมอก
ต้นพยับหมอก ไม้พุ่มขนาดกลาง ดอกบานสีฟ้าอมม่วงอ่อน

การขยายพันธุ์ของพยับหมอก

การเพาะเมล็ด, ปักชำหรือตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่พยับหมอกต้องการ

ประโยชน์ของพยับหมอก

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นฉากหลังของสวนหย่อม (สวนสน) ไม้ริมทะเล ตำแหน่งที่ปลูกไม่ควรจำกัดความสูง เพราะถ้าตัดแต่งบ่อยๆ จะไม่มีดอก

สรรพคุณทางยาของพยับหมอก

คุณค่าทางโภชนาการของพยับหมอก

การแปรรูปของพยับหมอก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10984&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment