มะคำดีควาย มีรสขม ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา ผลใช้ซักผ้าและเอามาสระผมได้

มะคำดีควาย

ชื่ออื่นๆ : ประคำดีกระบือ, ประคำดีควาย, ส้มป่อยเทศ (เชียงใหม่) มะซัก (ภาคเหนือ) มะคําดีควาย (ภาคกลาง) คำดีควาย (ภาคใต้) สะเหล่เด (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ชะแซ, ซะเหล่เด, ณะแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หลี่ชีเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) ลำสิเล้ง และ หมากซัก (ลั้วะ)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Soap Nut Tree,  Soapberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus emarginatus Wall.

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะของมะคำดีควาย

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดของต้นหนาทึบ ลำต้นมักคดงอ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10-30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียว

ดอก ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเป็นดอกเล็กสีขาวนวลหรือเป็นสีเหลืองอ่อนๆ โคนกลีบเชื่อมติดกัน และมีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ กลีบข้างนอกมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปนสีแดงขึ้นอยู่ประปราย

ผล ผลออกรวมกันเป็นพวง ผลย่อยมีลักษณะค่อนข้างกลม ผลสดสีเขียว ผิวผลเรียบหรืออาจมีรอยย่นที่ผลบ้าง เปลือกผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผลมีพู 3 พู และมักจะฝ่อไป 1-2 พู เนื้อในผลมีลักษณะเหนียว ใส เป็นสีน้ำตาล และมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมสีดำเป็นมัน เป็นเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มที่แข็ง

ต้นมะคำดีควาย
ต้นมะคำดีควาย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว
ใบมะคำดีควาย
ใบมะคำดีควาย แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียว

การขยายพันธุ์ของมะคำดีควาย

ใช้เมล็ด

การปลูกใช้เมล็ดเพาะเป็นต้นกล้าก่อน แล้วย้ายไปปลูกในที่ๆเตรียมไว้ คอยดูแลให้น้ำและกำจัดวัชพืชให้ดีด้วย

ธาตุอาหารหลักที่มะคำดีควายต้องการ

ประโยชน์ของมะคำดีควาย

  • ผลเอามาต้มและจะเกิดฟองขึ้น เอาสุมหัวเด็กแกหวัดตามแบบอย่าง
  • โบราณแก้รังแคก็ได้ ใช้ซักผ้าและเอามาสระผมก็ได้
ผลมะคำดีควาย
ผลมะคำดีควาย ผลสดสีเขียว ผิวผลเรียบหรืออาจมีรอยย่นที่ผล

สรรพคุณทางยาของมะคำดีควาย

รสและสรรพคุณยาไทย รสขม แก้กาฬภายใน แก้พิษไข้ ดับพิษร้อน

  • ราก แก้หืด แก้ไอ รักษาโรคหลอดลมโป่งพอง แก้ฝีในท้อง ช่วยแก้ริดสีดวง
  • เปลือกต้น แก้กระษัย แก้ไข้ แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ฝีอักเสบ แก้ฝีหัวคว่ำ
  • ใบ แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ ช่วยแก้ทุราวสา
  • ผล รักษาชันนะตุบนศีรษะ แก้เชื้อรา แก้รังคา ป้องกันผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย แก้อาการคันหนังศีรษะ ช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ บำรุงรากผมให้แข็งแรง ช่วยขจัดตัวเหา ไข่เหา รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้ง ผวา แก้สลบ แก้สารพัดพิษ สารพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปากเปื่อย แก้ฝีเกลื้อน แก้พิษ แก้หัด สุกใส ดับพิษทุกชนิด แก้พิษตานซาง แก้ไข้เลือดออก แก้ไข้เซื่องซึม แก้หืดหอบ บำรุงน้ำดี ช่วยแก้โรคผิวหนัง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีในผลมะคำดีควายก็คือ Saponin,emerginatonede, o-methyl-saponin เป็นต้นส่วนสรรพคุณแก้ชันนะตุ คาดว่าเกิดจากสาร Saponin

วิธีใช้

  • ผลของมะคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุที่หัวเด็กได้ดี โดยเอาผลมะคำดีควายมาสัก 5 ผล ทุบพบแตกต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ปล่อยเอาไว้ให้เย็น แล้วทาที่หนังศีรษะบริเวณที่เป็นโรควันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น จนกว่าจะหายแต่ต้องระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้เกิดอาการแสบตาได้ผลของมะคำดีควายเข้ากับเครื่องยาไทยขนานมากเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่แก้ไข้ได้ดีนั่นเอง
  • แก้หืด แก้ไอ รักษาโรคหลอดลมโป่งพอง แก้ฝีในท้อง ช่วยแก้ริดสีดวง นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  • แก้กระษัย แก้ไข้ แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ฝีอักเสบ แก้ฝีหัวคว่ำ นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  • แก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ ช่วยแก้ทุราวสา นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  • รักษาชันนะตุบนศีรษะ แก้เชื้อรา แก้รังคา ป้องกันผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย แก้อาการคันหนังศีรษะ ช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ บำรุงรากผมให้แข็งแรง ช่วยขจัดตัวเหา ไข่เหา นำผลประมาณ 4-5 ผล นำมาแกะเอาแต่เนื้อ นำไปต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย แล้วใช้น้ำทาบนศีรษะที่เป็นชันนะตุวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จนกว่าจะหาย หรือจะใช้เนื้อผล 1 ผล นำมาตีกับน้ำจนเกิดเป็นฟอง แล้วใช้สระผมวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  • รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้ง ผวา แก้สลบ แก้สารพัดพิษ สารพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปากเปื่อย แก้ฝีเกลื้อน แก้พิษ แก้หัด สุกใส ดับพิษทุกชนิด แก้พิษตานซาง แก้ไข้เลือดออก แก้ไข้เซื่องซึม แก้หืดหอบ บำรุงน้ำดี ช่วยแก้โรคผิวหนัง นำผลมาต้มกับน้ำ ล้างแผล หรือนำผลมาสุมให้เป็นถ่าน ทำเป็นยากินแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้
ดอกมะคำดีควาย
ดอกมะคำดีควาย ดอกเล็กสีขาวนวลหรือเป็นสีเหลืองอ่อน

ออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร

ส่วนที่เป็นพิษ : ผล

สารพิษ : Saponin

อาการ : คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ถ้าอาการรุนแรง พิษอาจทำลายเนื้อเยื่อ ถ้ามีการดูดซึม จะมีอาการกระวนกระวาย ปวดศีรษะ เป็นไข้ กระหายน้ำ ม่านตาขยาย หน้าแดง กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย ทำงานไม่สัมพันธ์กัน อาจจะแสดงพิษต่อระบบไหลเวียนโลหิต และชัก

วิธีการรักษา

  1. รับประทานไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมสารพิษ
  2. นำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเหลือชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่

คุณค่าทางโภชนาการของมะคำดีควาย

การแปรรูปของมะคำดีควาย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10994&SystemType=BEDO
https ://www.nectec.or.th
https://thaiherbal.org
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment