มะม่วงหัวแมงวัน
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงแมงวัน (ลำปาง) มะม่วงหัวแมงวัน (นครราชสีมา) รักหมู (ภาคใต้) หัวแมงวัน (สุโขทัย) ฮักหมู ฮักผู้ (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : พบในป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ
ชื่อสามัญ : มะม่วงขี้แมงวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buchanania lanzan Spreng.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของมะม่วงหัวแมงวัน
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง 20 เมตร เปลาตรง เปลือกนอกลำต้นหนา สีน้ำตาลหรือสีดำ มีร่องเปลือกลึก

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปรี ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 6-12 ซม. ยาว 10-25 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ใบออกสลับกันบนกิ่ง และมีจำนวนมากบริเวณกิ่งอ่อน เรือนยอดพุ่มทึบ

ดอก ดอกช่อดอกแบบแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ซอกใบ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีผนังสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ออกดอกธันวาคม-มีนาคม
ผล ผลสีเขียว กลมรี ขนาดเล็ก ผลสดเมล็ดเดียวแข็ง ขนาด 1.3-1.5 เซนติเมตร ผลสุกสีม่วงดำ เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนา เนื้อเมล็ดมีน้ำมันสะสมมาก เมษายน-มิถุนายน

การขยายพันธุ์ของมะม่วงหัวแมงวัน
ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาเพาะใส่ถุงประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะงอก
ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงหัวแมงวันต้องการ
ประโยชน์ของมะม่วงหัวแมงวัน
- ดอกอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำผลสุก
- เนื้อในเมล็ดรับประทานได้
- เนื้อไม้ใช้ทำลังใส่ของ ทำประตูหน้าต่าง และเครื่องตกแต่งบ้านได้ดี ผลสุกรับประทานได้
- เปลือกไม้ ให้สีน้ำตาล
- ราก ทำสีย้อมและพิมพ์ผ้า
สรรพคุณทางยาของมะม่วงหัวแมงวัน
- เมล็ด สกัดเอาน้ำมันไปทำยาแก้โรคผิวหนัง
- ยางและราก บดใช้ทำยาแก้โรคท้องร่วง
- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อักเสบจากพืชพิษ
- หลายส่วนของต้น เป็นยารักษาไข้ โรคผิวหนัง งูและแมลงป่องกัด โรคกามโรค ป้องกันแบคทีเรีย
คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงหัวแมงวัน
การแปรรูปของมะม่วงหัวแมงวัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11869&SystemType=BEDO, https://satit.msu.ac.th/
ภาพประกอบ : www.thaihof.org
มะม่วงหัวแมงวัน ผลกลมรี ขนาดเล็ก เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนา นำมารับประทานได้และมีสรรพคุณทางยา