มะแว้งนก
ชื่ออื่นๆ : หญ้าต้มตอก, หญ้าต้อมต๊อก (เชียงใหม่) ทุมขัน (นครราชสีมา) ข่าอม (ประจวบคีรีขันธ์) ประจาม (สงขลา) แว้งนก (สุราษฎร์ธานี) ออเตียมกุย, โอเตียมกุย (จีน, กรุงเทพฯ) หลงขุย, ขู่ขุย (จีนกลาง) สะกอคระ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) ด่อกะริ่ว (ปะหล่อง) บ่ะดีด, แผละแคว้ง (ลั้วะ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : หญ้าต้อมตอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum nigrum Linn.
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ลักษณะของมะแว้งนก
ต้น เป็นวัชพืชที่พบได้ตามที่รกร้างทั่วไป จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นกลมมน เป็นเหลี่ยมสัน หรือเป็นร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย มีความสูงของต้นประมาณ 30-90 เซนติเมตร หรืออาจสูงได้ถึง 1 เมตร แตกกิ่งก้านมาก รากมีลักษณะกลมยาวเป็นสีเหลืองอ่อน แตกรากฝอยมาก
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปขอบขนาน รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เป็นคลื่น หยักเล็กน้อย เว้าเป็นพูตื้นๆ หรือหยักซี่ฟันเป็นแฉกๆ ที่บริเวณโคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม โดยจะออกบริเวณเหนือซอกใบ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 4-10 ดอก และอาจมีได้ถึง 20 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูประฆัง กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมาก ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ ขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร ใจกลางดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน ก้านดอกมีขนปกคลุมเล็กน้อย
ผล ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดกว้างประมาณ 4-7 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ รสค่อนข้างขม

การขยายพันธุ์ของมะแว้งนก
ธาตุอาหารหลักที่มะแว้งนกต้องการ
ประโยชน์ของมะแว้งนก
- ผลสุกรับประทานได้
- ยอดอ่อนมาต้ม รับประทานเป็นผัก
สรรพคุณทางยาของมะแว้งนก
ทั้งต้น รสขมหวาน ต้มดื่มขับเสมหะ แก้จุกเสียด ถอนพิษ ลดอาการบวม แก้อาการหอบไอ รักษาครรภ์ไข่ปลาอุกชนิดร้ายแรง รักษาเนื้องอกที่เยื่อถุงน้ำคร่ำ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร แก้หลอดลมอักเสบ ผื่นคันตามผิวหนังเรื้อรัง แก้ฝีหนอง แก้หวัดจากลมร้อน

มะแว้นกเป็นพืชมีพิษ
การออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
ส่วนที่เป็นพิษ : ผล
สารพิษ : Solanine
อาการ : ความเป็นพิษจะเกิดหลังจากกินพืชที่มีสารประเภทนี้แล้วหลายชั่วโมง จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอหอย แล้วจึงคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องและท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูง อาการอื่นๆ ที่พบคือ ปวดศีรษะ เหงื่อออก น้ำลายไหลมากกว่าปกติ หายใจขัดและกล้ามเนื้อเปลี้ย อาการเป็นพิษในขั้นสุดท้ายคือ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เพราะลำไส้เป็นแผล ปัสสาวะเป็นเลือดเนื่องจากไตชำรุด ชักกระตุก หมดสติ อุณหภูมิลดต่ำ
วิธีการรักษา :
- ถ้ายังไม่อาเจียนให้ล้างท้อง โดยผสมผงถ่านใน Gavage ด้วย
- ให้น้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อค
- ต้องระวังอาการไตวาย
- ให้ยาเคลือบกระเพาะอาหาร
- ถ้ามีอาการชัก ควรให้ยาแก้ชัก
คุณค่าทางโภชนาการของมะแว้งนก
การแปรรูปของมะแว้งนก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11855&SystemType=BEDO
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com